Photo by Annop Nipitmetawee

ยิ้ม เปรียบเสมือนภาษาสากล ไม่ว่าคนเราจะเดินทางไปไหน ณ มุมไหนของโลก หรืออยู่ในสถานที่ที่มีข้อกีดขวางทางวัฒนธรรมและภาษา ยิ้มสามารถใช้เป็นภาษาที่สื่อสารและเข้าใจง่ายมากที่สุด เป็นภาษาที่ไม่ต้องการคำอธิบายไม่ต้องอาศัยเวลาเล่าเรียน ฝึกฝน เพราะทุกคนต่างเข้าใจความหมายแง่บวกที่สื่อออกไปแน่นอน

นับเป็นวันที่ท้องฟ้าสดใส และเป็นที่วุ่นวายกันเล็กน้อยในสังคมเมืองกรุง อย่างกรุงเทพมหานครเพราะเป็นวันที่จะต้องมีการเดินทางมุ่งลงสู่ภาคใต้ เพื่อตรวจเยี่ยม โครงการเยาวชนอาสา…เยียวยาใจหลังภัยพิบัติ เป็นการลงไปสู่อีกวัฒนธรรม ทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยการร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก

เด็กซึ่งมีรอยยิ้มที่ไร้เดียงสาจากชุมชนหากหลายความเป็นอยู่ ได้มารวมตัวกัน เกิดความสนุกนานเฮฮา ตามประสาเด็ก ๆ สิ่งแรกที่กลุ่มเจ้าหน้าโครงการ เดินทางเข้าสู่พื้นที่ได้พบปะพูดคุยกับเด็กบ้าง หัวหน้าชุมบ้าง ในบางที่เราไม่เข้าใจภาษาของเขา (เพราะเราคนอีสาน ไม่ค่อยจะได้ศึกษาภาษาใต้มากนัก) จึงจำเป็นต้อง เออ…ออ… บ้าง หัวเราะบ้าง ยิ้มบ้าง และนี้แหละครับเป็นจุดเริ่มต้นของการได้รู้จักเด็ก ๆ กลุ่มเยาวชนจากภาคใต้

“สวัสดีครับ พี่แฮนด์ มาได้ไงเนี๊ย..!!”

“สวัสดีค่ะ ทานข้าวมารึยัง เชิญที่โรงอาหารเลยนะคะ”

เด็ก ๆ เริ่มได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้นความซุกซนของเด็กก็เพิ่มมากขึ้นจากก่อนที่หลบ แอบมอง เขินอาย แต่พอได้สักพักก็เริ่มทำความรู้จัก โดยก็เริ่มต้นจากการยิ้มทักทายกันอีกนั่นแหละ จากนั้นพอสนิทกันก็เริ่มพูดคุย (ส่วนใหญ่พูดคุยภาษา ยาวี) ซึ่งมันทำให้เราไม่เข้าใจว่าเด็ก ๆ พูดอะไรกัน ก็เป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้มากเลยทีเดียวเชียว เราอยู่ร่วมกับเด็ก ๆ ในค่ายกิจกรรม 1 คืน 2 วัน อาจจะเป็น เวลาเพียงสั้นๆ แต่เราก็ได้รับรอยยิ้มจากเด็ก ๆ

นั่งมองคิดก่อนเดินทางกลับมายังกรุงเทพมหานคร เอ๊ะ!! แล้วเด็ก ๆ ได้รอยยิ้มและความสุข หรือเปล่า….

ก่อนเดินทางกลับ ขณะที่รอรถออก เวลา 20.00 น. นั้น พี่เณศ ก็เลี้ยงอาหารเย็น ด้วยเมนูสูตรเด็ด กุ้งผัดเผ็ดพริกไทยดำ “แซบหลาย เด้อ อ้าย…”

เมื่อดื่มด่ำกับรสชาติอาหารเลิศรสก็ถึงคราล่ำลาจาก ด้วยความสุขและรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ฉากสุดท้ายก่อนขึ้นรถ พี่เณศ ต้องได้รีบขับรถมาส่งพวกเรา ณ บขส. หาดใหญ่

“ฟ้าว ๆ …แหมะ อ้าย มัน สิ 2 ทุ่ม แล้ว โอ๊ย ๆ ๆ ตายแท้ ๆ ทันบ่นอ….”

“โอ๊ย โต เชื่อฝีมืออ้ายโลด 10 นาที กะฮอด…”

และแล้วการเดินทางก็จบลง โดยกลับมานั่งอมยิ้ม มีความสุข ณ เมืองกรุง ซึ่งแสนจะวุ่นวาย (ซึ่งนั่นคือความรู้สึกของเด็กบ้านนอกเข้าเมืองกรุง เช่นตัวผม) ความสุขรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ของเด็ก ๆ ที่ไม่มีวันดับหายไป หากตราบใดพวกเขาเหล่านั้น ยังคงมีความสุข และมีความหวังอยู่ในตัว

สหายดอกไม้คร่ำครวญ นกการ่ำไห้