จรัล มโนเพ็ชร ได้ใช้เวลาว่างที่มีอยู่ในช่วง 4 ปีสุดท้ายของชีวิต ทำงานในสตูดิโอส่วนตัวที่บ้านหม้อคำตวง กรุงเทพฯ ด้วย 1 ปัญญา พร้อม 10 นิ้ว และลมหายใจของตนเอง
จรัล มโนเพ็ชร สร้างงาน “ล้านนาซิมโฟนี” เป็น ชิมโฟนี 2 ชิ้นแรกให้ชื่อว่า “อินทนนท์ซิมโฟนี” อีกชิ้น หนึ่งคือ “แม่ปิงซิมโฟนี”
แรกเริ่มเดิมที จรัล มโนเพ็ชร ได้ทำการบันทึกเสียงเองจากมาสเตอร์สู่แผ่นซีดี หรือเทปคาสเซทท์ ทีละแผ่น ทีละม้วน ที่หน้าปกจะมีคำกลอน 1 บท เฉพาะแต่ละชิ้นซีดี ขายแผ่นละ 1,000 บาท เทปขายม้วนละ 500 บาท ขายเพื่อสะสมเงินสร้าง หอศิลปสะหล่าเลาเลือง มีผู้ได้งานไปไม่มากนัก เพราะทำไม่ทันเวลามีไม่มากนัก แต่ก่อนที่ จรัล มโนเพ็ชร จะจากไปได้เตรียมการสั่งทำด้วยระบบอุตสาหกรรม แต่ภายใต้การควบคุมอย่างจริงจังของ จรัล มโนเพ็ชร และ อันยา โพธิวัฒน์ ทำซีดีไว้ 1,000 แผ่น เพื่อขายที่หน้างาน “คอนเสิร์ต 25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร” ตั้งราคาขายไว้ที่แผ่นละ 500 บาท
ข้อมูลหอศิลปสะหล่าเลาเลือง
งานศิลป์ที่เกิดจากภูมปัญญาชาวบ้านมักถูกมองข้ามทำให้ประวัติศาสตร์ของศิลปพื้นบ้านไม่สมบูรณ์ “โครงการหอศิลป์สะหล่าเลาเลือง” ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปินล้านนาจะจัดเก็บ ศึกษา สะสม และเผยแพร่เป็นวิทยาทาน เพื่อประโยชน์แก่สังคม
Lot of work from the northern folk wisdom is aways overlooked, this makes the historical route of them uncomplete.The project of the Foundation for Lanna Artists is building “Haw Sala Laouluang”, to study, collect and publicize the cultural heritage for the sake of social studies so that the northern folk wisdom con pass on to the younger generations
ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ จรัล มโนเพ็ชร และ อันยา โพธิวัฒน์ ใช้เวลาในการเขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายความหมายความเป็นมา รวมทั้งคำวิจารณ์ หรือคำนิยมที่ได้รับกลับมาจากผู้ที่ได้ซื้องานไป
อินทนนท์ซิมโฟนี
ชื่อเพลงนี้ได้มาจาก ดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในภาคเหนือและในสยาม เหมือนดั่งตำนานที่ถูกเล่าขานในดินแดนแห่งเทพและโลกที่เปี่ยมมนต์ขลัง
เมื่อฟังเพลงนี้เราจินตนาการถึงภาพต้นไม้ใหญ่ในป่า หมอก หนาในยามเช้า นกตัวเล็ก ๆ ที่โบยบินอย่างเสรีบนท้องฟ้า เสียงสนต้องลม และแม้แต่พายุอันรุนแรงที่กำลังพัดผ่าน ทุ่งหญ้าคา แล้วหายไปที่ไหนสักแห่งในป่าลึก
ดูราวกับว่างานชิ้นนี้นั้น แท้จริงก็คือ ภาพเหมือนของคีตกวีเอง เพราะ อินทนนท์ซิมโฟนี ที่ จรัล มโนเพ็ชร สร้างขี้นก็เพื่อตั้งใจจะกระตุ้นให้เห็นภาพอันบริสุทธิ์ และสง่างามของชาวล้านนาในอดีต
เครื่องดนตรีที่ จรัล มโนเพ็ชร ใช้ราวกับเครื่องตกแต่งบ้าน คือ เฟรนซ์ฮอร์น นั่นเพราะในจินตนาการของเขา เสียงของ เฟรนซ์ฮอร์น ให้ความรู้สึกและอารมณ์ของความเป็น “พ่อ”
Inthanon Sympgony
The title of this piece is taken from the name of “Doi Inthanon”, the highest peak in the north of Siam
As legend has it, in the land of spirits and mystery when listen to this piece, one conjures up the image of big tree in the forest, the morning mist, little birds flying freely in the sky, whispering pines and even b winds blowing through the grass field and lost somewhere into the deep forest.
It seems to the audience that this piece is infact an self-portrait of the composer himself. Intanon Symphony by Jaran Manopetch is intended to evoke the refined and elegant image of Lanna people in the past old days.
The instrument that the composer used like a decoration for the house is French horn. To him the sound of French horn is comparable to the Father’s voice.
แม่ปิงซิมโฟนี
ชื่อเพลงนี้ได้มาจากชื่อ แม่น้ำปิง อันเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือของสยาม
ราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา จรัล มโนเพ็ชร นั่งเล่นอยู่เพียงลำพังริมผั่งแม่น้ำปิงในแถบถิ่นอำเภอเชียงดาว เมื่อเขาได้ยินเสียงของแม่น้ำ เขารู้สึกในชั่วขณะหนึ่งเหมือนได้เข้าไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ซึ่งเต็มไปด้วยมนต์ขลัง ทั้งท่วงทำนอง และเนื้อร้องของบทเพลงหลั่งไหลออกมาราวกับกระแสน้ำ และนั่นคือเพลง “ล่องแม่ปิง”
บทเพลงล่องแม่ปิงมีชื่องเสียงโด่งดังเสียจนไม่จำเป็นต้อง บรรยายสรรพคุณอีกแล้ว และ จรัล มโนเพ็ชร ก็ตกลงใจที่จะทำงานชิ้นนี้ในรูปแบบซิมโฟนีท่วงทำนองของดนตรีให้เสียงของกระแสน้ำไหลกระทบโขดหิน ซึ่งเกิดจาก เสียงของอิงลิชฮอร์น คลาริเนต ฟลู้ทปิคโคโล และฮาร์พํ ในจินตนาการของ จรัล มโนเพ็ชร นั้น เสียงอิงลิชฮอร์นให้ความ รู้สึกของความเป็นแม่
Maeping Sympgony
The title of this piece is name after “Ping River” the main stream in the north of Siam.
More than ten years ago, Jaran Monopetch was sitting alone on the bank of the Ping River somewhere in Ching-Dao. As the sound of the flowing river went by, the felt for a while as if he had stepped into a mysterious world of fantast. Both the melody and the lyric driffed along and incorporated into song so called “Long Mae Ping”.
The sing is so well-known that three is surely no need for any commentaries to it. Jaran Monopeth therefore decideed to compose the song as a symphony. The music features simple sounds such as the striking of rocks and streams which are invented by musical instruments including English horn, clarinet, flute, piccolo and harp.
As the composer feels, the sound of the English horn is very much like the Mother’ s voice.
คำวิจารณ์
“เพลงซิมโฟนีที่เล่นดนตรีเพียงคนเดียว แล้วยังทำออกมาขายด้วย คน ๆ เดียวกันนั้นอีก ในโลกนี้หรือบางที โลกหน้า ก็คงจะไม่มีใครกล้าทำ” – สันติ เศวตวิมล
“เบื้องหลังความอลังการ – หวานหู – ซาบซึ้งใจ คือความเจนจัดทางดนตรีระดับ “น่าทึ่ง” ของจรัล มโนเพ็ชร นี่ คืองามมาสเตอร์พีซชิ้นล่าสุดของศิลปินที่ขึ้นชั้น “คีตกวี” อย่างไร้ข้อกังขา” – รายา ผกามาศ – คอลัมนิสต์อิสระ
“Living in Canada and listened to this symphony, it can brought back the menories of my good time while I lived in the north of Thailand. It’s so powerful and brightly geautiful.” – Emma Torres
“Jaran has taken traditional Lanna tunes and transformed them into an enchanting symphony periord. His music captures the beauty and serenity of river and mountain of Northen Thailand” – Lijima Anna
“Diese Musik ist wie ein kleiner Urlaub, man schliesst die Augen und dekt an Nordthailand, an die sanften gruenen Bergvoelker, die grazilen Maedchen mit iher klassischen Taenzen, die majestetischen Temple und wuenschte man waere dort.” – Barbara Richart
จาก “ประวัติชีวิตผลงาน จรัล มโนเพ์ชร”
หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ