
ทุกวันนี้เราดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของวิถี New Normal เพราะตั้งแต่ที่ไวรัสโคโรน่าย่างกรายเข้ามาครอบงำทุกบทบาทการใช้ชีวิตของมนุษย์แล้วนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีคนมากมายได้รับผลกระทบ ยิ่งกว่านั้นยังคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนไม่ถ้วน ไม่ว่าจะด้วยตัวเชื้อที่แพร่กระจายจากคนสู่คน หรือแม้กระทั่งด้วยความเครียดของตัวบุคคลนั้น ๆ เอง เพราะฉะนั้นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โควิด-19 อย่างวิถี New Normal จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลายคนอาจเข้าใจกับคำว่า New Normal แล้ว แต่เราจะขอนิยามให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน
New Normal คืออะไร ?
คำว่า New Normal ถูกใช้ครั้งแรกช่วงปี 2007-2009 โดย บิลล์ กรอส (Bill Gross) ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ ชาวอเมริกัน หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ เศรษฐกิจที่ซบเซาลงเป็นผลทำให้ประชาชนทุกคนต้องปรับตัว ดังนั้นคำว่า New Normal จึงถูกนำมาใช้เมื่อการเติบโตของเศรษฐกิจถดถอยลงและพฤติกรรมของคนจำเป็นต้องเปลี่ยนไป
การปรับตัวกับวิถี New Normal ให้เกิดสุนทรียะทำอย่างไร ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อมีการนำวิถี New Normal กลับมาใช้ในสถานการณ์โควิด ทำให้หลายคนปรับตัวได้อย่างยากลำบาก ยิ่งในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและพ่อค้าแม่ขายที่จำเป็นต้องพบปะผู้คน New Normal จึงก่อให้เกิดความเครียดและความกลัวในตัวบุคคลมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการปรับตัวกับวิถี New Normal ในสถานการณ์แบบนี้สามารถทำได้โดยไม่ทำให้เกิดความเครียดและกังวลมากจนเกินไป หากทำตามวิธีปรับตัวกับวิถี New Normal ให้เกิดสุนทรียะ ดังนี้
1. ใช้เทคโนโลยี / อินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างความสุข
บทบาทของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล Gen ไหน ก็หนีไม่พ้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสาร ยิ่งในสังคมยุค New Normal ด้วยนั้น การใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตจึงสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยสองวัยใหญ่ ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในสถานการณ์เช่นนี้ คือ วัยนักเรียน/นักศึกษา กับการเรียนออนไลน์และวัยทำงานที่ต้อง Work from Home ข้อดีคือการลดเชื้อไวรัสแต่ข้อเสียคือความเครียดจากการขาดปฏิสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น
หากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ รับรองว่าการใช้ชีวิตในวิถี New Normal ลำบากอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงต้องหากิจกรรมเพื่อสร้างความสุนทรีย์ให้แก่ชีวิต ซึ่งทำง่าย ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตเช่นกัน เช่น การช้อปปิ้งออนไลน์ (หลายคนความเครียดหายไปทันทีเมื่อได้ซื้อของที่ชอบ), ดูหนังฟังเพลงบนแพล็ตฟอร์มที่หลากหลาย, เล่นเกมออนไลน์เพื่อคลายเครียด โดยมีเกมที่ได้เงินจริงอย่าง รูเล็ตต์ เกมยิงปลา สล็อต เป็นต้น หรือลองค้นหาว่าตนเองชื่นชอบอะไรก็จงใช้สิ่งนั้นเพื่อเป็นการเอนเตอร์เทนชีวิตในช่วงวิกฤตเช่นนี้ดู หากคุณอยากเล่นเกมลอง คลิกที่นี่เลย
2. เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ New Normal เพื่อลดเชื้อไวรัสโคโรน่า สิ่งนี้ทำให้การปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมลดน้อยลง ระยะห่างทางกายภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นผลเสียกับคนประเภท Extrovert (บุคคลที่ไม่ชอบอยู่คนเดียว ชอบพบปะผู้คนใหม่ ๆ) ในระดับหนึ่ง เมื่อบุคคลประเภทนี้อยู่คนเดียวหรือไม่พบปะใครเป็นเวลานานจะรู้สึกเฉาและเหงาในเวลาเดียวกัน
นักวิจัยกล่าวว่า ความเหงาเป็นอันตรายต่อชีวิต เหมือนสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน และคนเหงามีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีถึง 50%
ดังนั้นจึงต้องหากิจกรรมทำแก้เหงาสำหรับคนไม่คุ้นชินกับการอยู่คนเดียว เช่น การโทรคุยกับคนในครอบครัว พี่น้องหรือเพื่อนสนิท, การหาสัตว์เลี้ยงมาอยู่เป็นเพื่อนคลายเหงา, ปลูกต้นไม้, เล่นโยคะ ทำสมาธิให้ใจอยู่กับตนเองมากขึ้น จะได้ไม่นึกถึงเรื่องราวข้างนอกมากจนเกินไป
หากอยู่เบื่อ ๆ อยากสร้างรายได้ เราขอแนะนำ 6 วิธีนวัตกรรมในการสร้างรายได้จากที่บ้าน
3. ใส่ใจตัวเองและคนรอบข้าง
ช่วงวิกฤตโควิด-19 อย่างนี้จำเป็นต้องดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของไวรัส และหมั่นสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกไปข้างนอก พกเจลแอลกอฮอล์และล้างมือให้สะอาด หากคนใกล้ตัวไม่ปฏิบัติก็ต้องเตือนด้วยความใส่ใจ นอกจากนี้การออกกำลังกายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่จำเป็นต้องหักโหมมากจนเกินไป คุณอาจจะชักชวนสมาชิกในครอบครัวมาออกกำลังกายร่วมกับคุณเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและเพิ่มปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว
ท้ายที่สุดการปรับตัวในวิถี New Normal ให้เกิดสุนทรียะนั้น ไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียดจนเกินไป เพียงแค่อยู่ในขอบเขตของความเป็น New Normal และปล่อยให้ไหลไปตามความชอบของคุณแค่นั้นเอง