Battle of Gettysburg (by Timothy H. O’Sullivan) ภาพสมรภูมิแห่งเกตติเบิร์ก (โดย ธีโมธีท์ เอช. โอ ซัลลิแวน)

ภาพถ่ายนี้ได้แสดงความเหมือนของสมรภูมินองเลือดระหว่าง สมรภูมิแห่งเกตติเบิร์ค (Battle of Gettysburg) และสมรภูมิสงครามกลางเมืองแห่งสหรัฐ บันทึกภาพไว้โดย Timothy H. O’Sullivan ในบันทึกสารคดีแห่งสมรภูมิ ภาพนี้ได้ถ่ายทอดห้วงอารมณ์ที่หลากหลาย และตีแผ่ช่วงเวลาแห่งสงครามกลางเมืองให้แก่ผู้ที่ได้เห็นภาพในครั้งแรก หรือผ่านประสบการณ์นั้นมา อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่การแพร่ภาพอย่างกว้างขวาง และภาพนี้ก็ยังเป็นภาพที่ไม่เคยมีการนำเสนอมาก่อน ภาพถูกทำให้เหมือนการพิมพ์ในสมัยโบราณ แต่ภาพได้แสดงถึงการตายหมู่ของทหารในสมรภูมิ


Lynching (by Lawrence Beitler, 1930) ศาลเตี้ย (โดย ลอเรนซ์ เบลท์เลอล์)

Lawrence Beitler ได้บันทึกภาพนี้ไว้เมื่อ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ภาพ 2 ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน Thomas Shipp และ Abram Smith ใน Marion รัฐ Indiana ทั้ง 2 ถูกนำมาจากคุกและถูกรุมประชาทัณฑ์และจับแขวนคอโดนฝูงชนที่โกรธแค้น เขาทั้ง 2 คนถูกจับในคืนนั้นในฐานะผู้ต้องสงสัยในคดีการโจรกรรม การฆาตกรรมและข่มขืน

ภาพถ่ายนี้ถูกขายออกไปกว่าพันสำเนาที่ใช้เวลาตลอด 10 วัน 10 คืนในการพิมพ์มันออกมา ภาพกลายเป็นสัญลักษณ์กล่าวขานสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายปี ถึงความเด่นในแง่มุมของการจดจำ การถูกประชาทัณฑ์ศาลเตี้ย ซึ่งในเวลานั้นเหมือนมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ประจำวันในสังคมที่เหยียดสีผิว

ภาพนี้ได้รับความนิยมและได้ถูกนำมาเป็นแรงบันดานใจในการเขียนกลอน และแต่งเพลงในช่วงหลายปีต่อมา


Migrant Mother (by Dorothea Lange, 1936) หญิงอพยพ (โดย โดโรธี แลงจ์)

หญิงเหล็กยุคเศษฐกิจสหรัฐฯ ล้ม ครั้ง The Great Depression – “Florence Owens Thompson” หรือ หญิงอพยพที่เห็นในรูป คือหนึ่งในชาวไร่ชาวนาอเมริกันนับแสนที่อพยพหนีวิกฤติ Dust Blow หรือสภาวะดินแห้งแล้งจัดจนปลิวเป็นพายุฝุ่นปลูกอะไรไม่ได้ ในรูปจะเห็นว่า Thompson เป็นแม่ลูก 3 โดย 2 คนซบอยู่ที่ไหล่ ส่วนคนอยู่ในอ้อมแขน โดยแม้สีหน้าของเธอผู้แม่จะมีแววกังวลเจืออยู่เหมือนคนเจอปัญหาที่เกินกำลัง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังดูทรหดอย่างน่าประหลาด ว่ากันว่าภาพถ่ายนี้ถอดหัวใจความเป็นคนอเมริกันช่วยวิกฤติเศษฐกิจออกได้อย่างไม่มีที่เปรียบ เพราะแสดงถึงความกล้าและการุณเคล้ากัน ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่ทำให้อเมริกาผ่าน The Great Depression มาได้

ผู้ถ่ายภาพนี้ Dorothea Lange ช่างภาพหญิงซึ่งไม่ได้เรียนในโรงเรียน แต่ฝึกตัวเองด้วยการอาศัยครูพักลักจำจากบรรดาช่างภาพ Portrait (ภาพบุคคล) ในนิวยอร์ก ด้วยความที่ตัว Lange เองเป็นโรคโปลิโอ และเคยถูกพ่อทิ้งในวัยเด็ก จึงทำให้เธอสามารถเข้าถึงหัวใจของบรรดาคนชายขอบในสังคม และสะท้อนสิ่งเหล่านั้นออกมาได้เป็นอย่างดี

Lange ชอบพูดว่า “A camera is a tool for learning how to see without a camera”


Raising the Flag on Iwo Jima (by Joe Rosenthal, 1945) การอัญเชิญธง ณ อิโวจิม่า (โดย โจ โรเซนไทล์)

23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นาวิกโยธินสหรัฐ และนาวาอากาศสหรัฐ 5 นาย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งทหารเสนารักษ์ ยกธงเหนือยอดเขา Suribachi (ซึริบาจิ) ณ สมรภูมิ Iwo Jima (อิโวจิมา) ในสงครามโลกครั้งที่ 2

การยกธงที่ Iwo Jima นั้นมีความสำคัญ เพราะ Iwo Jima เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลโตเกียว การยึดครอง Iwo Jima เท่ากับเป็นการยึดครองดินแดนญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรกในสงคราม กว่าจะยึดได้สหรัฐฯ ก็ได้สูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งสรุปเป็นตัวเลขง่ายๆ ว่า ทหารญี่ปุ่นบนเกาะ Iwo Jima จำนวน 22,000 คน โดยเฉลี่ยฆ่าทหารอเมริกันได้คนละ 10 นายก่อนตัวจะตาย

หลังจากนั้นไม่กี่วัน ภาพนี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของ “การชาติพลี” ของสหรัฐอเมริกา มีหนังสือพิมพ์เอาไปลงกันทุกฉบับ กระทรวงการคลังก็เอาภาพนี้ไปออกแบบเป็นโปสเตอร์โฆษณาการขายพันธบัตร ระดมเงินประชาชนเพื่อเป็นทึนทำสงคราม

ฝีมือการถ่ายภาพของ Joe Rosenthal ผู้ที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จากภาพนี้ในปีเดียวกัน Joe เล่าให้ฟังทีหลังว่าตอนที่ตามทหารขึ้นเขา Suribachi ไปนั้น ตัวเองมัวแต่ง่วนทำอะไรอยู่สักอย่างหนึ่ง หันมาอีกทีก็เห็นเขากำลังจะปักธงอยู่รอมร่อแล้ว ตนจึงได้รีบคว้ากล้องขึ้นมากดชัตเตอร์โดยไม่ได้เล็ง

ด้วยเหตุนี้ Joe จึงมักจะพูดเสมอว่า “What difference does it make who took the picture? I took it, but the Marines took Iwo Jima”


Che Guevara (by Alberto Korda) เช กูวารา นายแพทย์นักปฏิวัติ (โดย อัลเบอโต คอร์ดา)

Alberto Korda ถ่ายภาพ Portrait ที่โด่งดังที่สุดภาพหนึ่งของโลก Guerrillero Heroico (นักสู้กองโจรผู้เป็นวีรบุรุษ) ภาพของชายหนุ่มผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งการปฏิวัติ  Ernesto Che Guevara นายแพทย์นักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา ที่ร่วมกับ Fidel Castro โค่นผู้นำเผด็จการบาติสต้า (Fulgencio Batista) ในประเทศคิวบา ภาพถูกถ่ายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2503 ในกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา ในพิธีสดุดีเหยื่อของการระเบิดลาโกว์เบร (La Coubre)

Korda กล่าวว่าในขณะที่เขาถ่ายภาพนี้ เขาถูกดึงดูดจากการแสดงสีหน้าของ Che ซึ่งแสดงอารมณ์โกรธ แค้น และเจ็บปวด แต่ก็ดูหนักแน่นและไม่ยินดียินร้าย อย่างบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้

ภาพนี้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นอนุสรณ์การระเบิดแห่ง ลา คูบร์ ภาพได้ถูกบันทึกมาร่วม 31 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังนำภาพสัญลักษณ์นี้มาแสดง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด รอยสัก และบนกำแพง ซึ่งพบเห็นได้ทั่ว

สถาบันวิทยาลัยศิลปะแมริแลนด์ เรียกภาพ Guerrillero Heroico นี้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของศตวรรษที่ 20 และเป็นภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก


Murder of a Vietcong by Saigon Police Chief (by Eddie Adams, 1968) การฆาตกรรมของเวียดกงโดยหัวหน้าตำรวจไซ่ง่อน (โดย เอ็ดดี้ อดัม)

ภาพสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 20 และ 21 อีกภาพหนึ่ง ของ Eddie Adams ช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ ผู้มีชื่อเสียงในการถ่ายภาพบุคคลดังลงสื่อสิ่งพิมพ์มากมาย มีชีวิตในช่วงสงครามถึง 13 ครั้ง อย่างไรก็ดีภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นภาพในสงครามเวียดนามภาพนี้

“ภาพถ่ายคืออาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก” Eddie Adams เคยเขียนประโยคนี้ไว้ และเข้าใจได้ไม่ยากหากทราบที่มา

ในปี 1968 Eddie ได้ถ่ายรูปตำรวจ นายพล Nguyen Ngoc Loan จ่อปืนยิงศีรษะของนักโทษเวียดกงที่ถูกใส่กุญแจมืออยู่ และภาพถ่ายได้รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1969 เป็นภาพดูแล้วก็น่าสงสาร รันทดใจ ในชะตากรรมของผู้ตกเป็นเหยื่อ และสร้างภาพความโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ให้กับนายพล Nguyen ผู้ลั่นไกกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวโลก และเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย รุนแรง

แต่ในโลกที่ไม่ได้มีแค่ ขาว-ดำ ถูก-ผิด เบื้องหลังของเหตุการณ์คือ ผู้ที่ถูกยิงเป็นหัวหน้าหน่วยล่าสังหารของฝ่ายเวียดกง ที่วันนั้นเพิ่งลงมือสังหารหมู่ชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธและไร้ทางต่อสู้นับสิบคน ส่วนนายพล Nguyen ได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาพนั้น ทั้งถูกไล่ออก โรงพยาบาลทหารผ่านศึกก็ปฏิเสธที่จะรักษา และเมื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกาก็ถูกต่อต้าน เขาเปิดร้านพิซซ่าขึ้นในรัฐ Virginia แต่ต่อมาในปี 1991 เขาก็ต้องเลิกกิจการ เมื่อถูกสาธารณชนต่อต้าน เขามีชีวิตที่ยากลำบากตลอดชีวิตที่เหลือ และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในปี 1998

ในภายหลัง Eddie ได้แถลงขออภัย ต่อนายพล Loan ที่ได้ถ่ายทอดภาพออกมาในลักษณะนั้น

“ท่านนายพลได้สังหารเวียดกงด้วยปืน แต่ผมกลับสังหารท่านด้วยกล้อง” Eddie Adams กล่าว


Moon Landing การลงจอดบนดวงจันทร์

ภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวขานและโต้เถียงอย่างมากมาย ภาพการลงจอดบนดวงจันทร์เป็นการประกาศถึงความสำเร็จทางวิศกรรมของมนุษยชาติ แต่อีกนัยหนึ่งเป็นการวิพากวิจารณ์ถึงการหลอกลวงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ มีความสงสัยต่อข้อเท็จจริงในภาพถ่าย ซึ่งได้รับการวิจารอย่างกว้างขวางว่ามีการปลอมแปลงภาพนี้

อย่างไรก็ตามข้อกล่าวหาต่าง ๆ ก็ยังไม่สามารถจะพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงได้ และความสงสัยก็ขยายออกเป็นวงกว้างเรื่อย ๆ ในภารกิจการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้ ธงชาติสหรัฐฯ ได้ถูกปักลงเพื่อเป็นเกียรติภูมิแห่งความสำเร็จ และได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตอวกาศ และยังคงประกาศถึงมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ด้วย


Napalm Strike (by Huynh Cong Ut, 1972)

Huynh Cong Ut หรือ Nick Ut ช่างภาพแนว Photojournalism จาก AP บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์มลงหมู่บ้าน Trang Bang โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศเวียดนาม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่าจะมีกองกำลังเวียดกง ซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน Kim Phuc อายุ 9 ขวบ วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนนในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้าและเสียขวัญสุดขีด มาพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปีทางซ้ายสุดของภาพ น้องชายอายุห้าขวบที่วิ่งไปพร้อมกันเหลียวมองไปที่หมู่บ้าน และลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนที่จูงมือกันวิ่งมาด้วย

“บรรณาธิการ AP ไม่ยอมให้ตีพิมพ์รูปของ Kim Phuc ที่กำลังวิ่งไปบนถนนโดยไม่ใส่เสื้อผ้า เพราะเป็นภาพที่เห็นด้านหน้าชัดเจน และนโยบายของ AP ในยุคนั้นจะไม่ตีพิมพ์ภาพเปลือย ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่และเพศใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพด้านหน้า โดยไม่มีข้อยกเว้น…การโต้เถียงผ่าน Telex อย่างดุเดือดกับสำนักงานใหญ่ของ AP ที่นิวยอร์ค ให้ยกเว้นกฎระเบียบ โดยมีข้อตกลงกันว่าจะต้องไม่มีภาพถ่ายใกล้ของเธอ เผยแพร่ออกไป Hal Buell บรรณาธิการภาพของ The New York ที่จะนำภาพไปตีพิมพ์ เห็นด้วยว่าคุณค่าของภาพข่าวนี้ มีเหนือกว่าแนวทางปฏิบัติใดๆ เกี่ยวกับภาพเปลือย” Nick Ut ผู้ถ่ายภาพนี้ซึ่งได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปีนั้นกล่าว


Fire on Marlborough Street (Stanley J. Forman, 1975) ไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช (โดย สแตนเลย์ เจ. ฟอร์แมน)

วันที่ 22 กรกฏาคม ค.ศ. 1975 Stanley J. Forman ได้ถ่ายภาพที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมได้ในขณะเดินทางไปทำงานที่ ฮารอล บอสตัน เขาคลานข้ามรถดับเพลิงขึ้นมาเพื่อทำข่าวไฟไหม้ที่ถนนมาล์บอรอช ขณะที่คลานเข้ามาใกล้เหตุการณ์ หญิงสาว กับ เด็กผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ก็ร่วงลงมาจากอพาร์ทเม้นท์ด้านบน หญิงสาวตายสนิททันที แต่เด็กผู้หญิงตัวเล็ก ๆ รอดชีวิตมาได้

ภาพนี้ทำให้ฟอร์แมนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ และยังสามารถนำภาพนี้ไปใช้ในการออกกฏหมายเกี่ยวกับอัคคีภัยในเมืองบอสตันอีกด้วย


Tank Man (by Jeff Widener, 1989) มนุษย์รถถัง (โดย เจฟ วิเดนเนอร์)

ภาพสันติวิธีของจริงเพราะเป็นรูปพฤติกรรมคน ๆ เดียวที่กล้าหาญและท้าทายเป็นอย่างมาก เขายืนหยุดขบวนรถถังทั้ง ๆ ที่ทั้งเนื้อทั้งตัวไม่มีอะไรเลยนอกจากถุงช๊อปปิ้งที่ถือติดมา รถถังที่รัฐบาลจีนส่งมาเพื่อรักษาความสงบหลังจากเกิดการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ปักกิ่ง ในวันที่ 5 มิถุนายน 1989

ขบวนรถถังพอมาเจอคน ๆ นี้ขวางทางก็ต้องจอด พอรถถังทำท่าจะเบี่ยงออกซ้ายเขาก็วิ่งขวางซ้าย รถถังเบี่ยงขวาเขาก็วิ่งตามมาขวางทางขวา ทหารในรถถังใจอ่อนต้องดับเครื่อง เขาก็ปีนขึ้นรถถังไปบนตัวรถด่าทอทหารอยู่พักหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นพอรถถังทำท่าจะออกตัวเขาก็ลงมาขวางอีก จนประชาชนผู้หวังดีบริเวณนั้นต้องมาลากเขาออกไปก่อนจะถูกรถถังทับแบนติดพื้นไปเสีย

ปรากฎว่าเมื่อภาพนี้เล็ดลอด ถูกลักลอบออกนอกประเทศจีนมาเผยแพร่ได้ ก็ดังไปทั่วโลก เพราะเป็นภาพที่โดนใจประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกหมู่เหล่า เห็นถึงพลังของประชาชนที่ลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้การกดขี่บีทาจากรัฐ ปัจจุบันไม่มีใครรู้ว่า “Tank Man (มนุษย์รถถัง)” ผู้นี้เป็นใคร ชื่ออะไร หรือเป็นตายร้ายดีอย่างไร จึงได้แต่สันนิฐานว่าคงถูกรัฐบาลจีนสั่งเก็บไปแล้ว นิตยสาร Time จึงเรียกเขาว่า “กบฏนิรนาม” และยกให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดแห่งศตวรรษที่ 20


Uganda (by Mike Wells) อูกันด้า (โดย ไมค์ วอลล์)

นี่เป็นตัวอย่างการถ่ายทอดอารมณ์และจิตนาการภาพหนึ่ง ภาพมิชชันนารีกำลังประคองมือของเด็กน้อยชาวอูกันดา ภาพแสดงออกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างมนุษย์ 2 คน ที่ได้รับทรัพยากรที่แตกต่างกัน ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ช่างภาพ Mike Wells ถ่ายภาพนี้เพื่อแสดงถึงภาวะการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงในทวีปอัฟริกา เขาถ่ายภาพนี้เสนอนิตยสาร โดยไม่ได้รับการตีพิมพ์ถึง 5 เดือน ทำให้เขาต้องเข้าไปเจรจากำสำนักพิมพ์ด้วยตนเอง แต่ท้ายที่สุดเขาก็ไม่สามารถนำภาพเด็กอดอยากภาพนี้ลงในนิตยสารได้


Vulture Stalking a Child (by Kevin Carter) นกแร้งกำลังใกล้เข้ามา (โดย เควิน คาร์เตอร์)

ภาพที่ดูแล้วน่าตกใจนี้ เกิดขึ้นกับเด็กน้อยชาวซูดาน ที่กำลังถูกนกแร้งย่องเข้ามาใกล้โดยที่เค้าไม่รู้ตัว มันเป็นภาพที่น่าขนลุกมาก ที่เห็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น ที่ซาหาราน อัฟริกา Kevin Carter ผู้ถ่ายภาพได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในภาพนี้ Kevin ได้ใช้เวลาไคร่ครวญอย่างมาก เขาใช้เวลาถึง 20 นาทีกว่าจะถ่ายภาพได้โดยไม่เข้าไปช่วยเด็ก แต่หลังจากเขาได้ถ่ายภาพนั้น 3 เดือน เค้าตัดสินใจที่จะจบชีวิตของเขาตามไป รู้ไหมครับว่าทำไม? เพราะว่าภาพต่อมาที่เขาถ่ายเป็นวินาทีชีวิตของเด็กน้อยผู้หิวโหยหมดแรงฟุบลงผู้นั้น ที่ถูกนกแร้งจิกตีตายแล้วทึ้งกินเป็นอาหารด้วยความหิวโหย โดยที่เขาไม่ได้ขยับเข้าไปช่วยเหลือเลยแม้แต่น้อย รางวัลพูลิตเซอร์ที่แลกมาด้วยของชีวิตเด็กน้อย ทำให้เขาไม่สามารถอภัยให้ตัวเองได้เลย


Afghan Girl (by Steve McCurry, 1984) สาวน้อยอัฟกันฯ (โดย สตีฟ แม็คเคอรี่)

ภาพของสาวน้อยอัฟกันฯ เจ้าของดวงตาเขียวปั้ดที่ฟ้องไปยังคนทั่วโลกถึงเคราะห์กรรมของผู้ที่บ้านแตกสาแหรกขาดด้วยภัยสงคราม เพราะขณะที่เธอถูก Steve McCurry บันทึกภาพเพื่อนำไปขึ้นปกนิตยสาร National Geographic เธอมีอายุเพียง 13 ปี พ่อแม่ของล้วนตายในสงคราม (โซเวียต vs. อัฟกานิสถาน) ส่วนตัวเธอก็ลี้ภัยมาอยู่ที่ค่ายอพยพในปากีสถาน

เนื่องจากรูปนี้เป็นรูปที่ใครเห็นก็ต้องติดตา จึงเริ่มมีการถามหาถึงเด็กสาวในรูปว่า เธอเป็นใคร? ทำให้ Steve McCurry ต้องกลับไปยังประเทศปากีสถานนับ 10 ครั้งเพื่อตามหาเธอ จนกระทั่งทีมงานของ National Geographic ต้องใช้เครื่องวิเคราะห์ม่านตาช่วยในการค้นหาจึงเจอเธอในที่สุด เมื่อนั้นทุกคนถึงได้รู้ว่าสาวน้อยอัฟกันฯ ผู้นี้ชื่อว่า “Sharbat Gula (ชาบัท กูล่า)” ซึ่งเธอนั้นมัวแต่ปากกัดตีนถีบตามประสาผู้ลี้ภัย จึงไม่รู้ว่าตัวเธอเองนั้นดังไปทั่วโลก และมาเห็นภาพตัวเองได้ขึ้นปกนิตยสารก็เมื่อทีมงานของ National Geographic มาเจอตัวเธอนี่เอง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเธอได้เห็นปกนิตยสารที่ว่าเข้าจริงๆ เธอก็ดูจะไม่หลงใหลได้ปลื้ม โดยเธอให้เหตุผลว่า เพราะเธออายที่ผ้าคลุมหน้าในรูปเห็นเป็น “รู” อย่างชัดเจน และบอกอีกว่าเธอยังจำวันที่เผาผ้าสับปะรังเคผืนนั้นทิ้งได้ดีทีเดียว


The Falling Man (by Richard Drew, 2001) เดอะ ฟอลลิ่ง แมน (โดย ริชาร์ด ดริว)

The Falling Man ถูกบันทึกภาพไว้โดย Richard Drew ในเหตุการณ์ “9-11” เมื่อเวลาเช้าของวันที่ 11 กันยายน 2001 ณ เวลา 9.41.15 น. เป้นภาพชายคนหนึ่งกำลังร่วงลงมาจากตึก เวิร์ดเทรดเซนเตแอร์ นครนิวยอร์ค ซึ่งไม่ทราบชื่อชายในภาพ หลายคนลงความเห็นว่า เป็นภาพที่รบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาพที่อกสั่นขวัญแขวนต่อผู้ชมภาพ ที่แสดงเหมือนเป็นภาพลวงตา อย่างไรก็ตาม มีหลายคนวิจารย์ว่าทำไมคนถึงร่วงลงมาในแนวดิ่งแบบนั้น แต่ยังไงภาพนี้ก็เป็นเพียงภาพเดียวจากหลายๆ ภาพของการตกลงมา และภาพนี้ก็อาจเป็นภาพที่เขากำลังตีลังกาขณะร่วงลงมาจากตึกโดยปราศจากการควบคุมก็เป็นได้


Camel Shadow (by George Steinmetz, 2008)

ภาพจาก National Geographic เป็นคาราวานอูฐในทะเลทราย แต่ลองดูให้ดีๆ จะรู้ว่าภาพอูฐสีดำ ๆ นั้นเป็นเพียงภาพลวงตาของเงาที่ทอดลงบนพื้นทรายเท่านั้น ตัวอูฐจริง ๆ นั้นคือเส้นสีขาวเล็ก ๆ ที่เห็นอยู่ในภาพ George Steinmetz คือเจ้าของผลงานชิ้นนี้ เข้าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยได้ครึ่งทาง เขาก็เปลี่ยนมาสะพายกล้องและเริ่มออกเดินทางท่องโลก ด้วยการโบกรถจาก London ไปถึง สาธารณรัฐซาเอียร์ในภาคกลางของแอฟริกา (Zaire) เขาจะหลงเสน่ห์ดินแดนห่างไกลที่เดินทางผ่าน และบอกตัวเองว่าจะต้องกลับไปอีกเพื่อถ่ายภาพภูมิประเทศเหล่านี้ในแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

“ผมฝันมานานแล้วว่าอยากถ่ายภาพภูมิทัศน์อันรกร้างจากเบื้องบน”

หลายปีต่อมา Steinmetz ก็พบคำตอบ เขาบันทึกภาพนี้ไว้ขณะที่กำลังอยู่บน Paraglider (เป็นเครื่องร่อนที่หน้าตาคล้าย ๆ ร่มชูชีพ) ขณะบินอยู่เหนือเหนือทะเลทราย Wadi Mitan บริเวณสามเหลี่ยมของประเทศโอมาน ซาอุดิอาระเบียและเยเมน ที่ผ่านมาเขาก็ได้บันทึกภาพสถานที่ต่าง ๆ ทั้งทะเลทรายสะฮารา แอนตาร์กติกา เมืองจีน และอัลติปลาโน ในอเมริกาใต้

“คุณจะได้เห็นอะไรที่แปลกใหม่จากเบื้องบน ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน ทางเดินของอูฐ สถานที่ประกอบพิธีกรรม และลวดลายในแสงเงายามเช้าตรู่”


Signal (by John Stanmeyer, 2013) สัญญาณ (โดย จอห์น สแตนเมเยอร์)

ภาพของ John Stanmeyer ช่างภาพอเมริกัน มีภาพขึ้นปก Time ถึง 18 ปก ภาพนี้ชนะรางวัลที่ 1 World Press Photo ปี 2013 ชาวแอฟริกันที่กรุงจิบูติซิตี้ (Djibouti city) ไปยืนริม ๆ หาด หวังจะได้สัญญาณโทรศัพท์จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างโซมาเลีย ซึ่งมีค่าโทรศัพท์ถูกกว่า สาธารณรัฐจิบูติ เป็นประเทศที่แรงงานนักแสวงโชคจากหลายประเทศแถบนี้จะมารวมตัวกัน ก่อนจะลงเรือข้ามไปยังดินแดนแห่งความหวังในยุโรป ส่วนใหญ่ไปไม่สำเร็จ ตายกลางทะเลก็มี

African migrants on the shore of Djibouti city at night, raising their phones in an attempt to capture an inexpensive signal from neighboring Somalia – a tenuous link to relatives abroad. Djibouti is a common stop-off point for migrants in transit from such countries as Somalia, Ethiopia and Eritrea, seeking a better life in Europe and the Middle East


Abandoned on the border (Murad Sezer, 2014) ทิ้งไว้ที่ชายแดน โดย มูหราด เซเซอร์

การลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรียเริ่มขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน นับตั้งแต่นั้นมาคาดว่ามีคนกว่า 3.2 ล้านคนหนีออกจากซีเรีย ขณะที่ในซีเรียเองมีคนราว 7.6 ล้าน ต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น ไร้ถิ่นที่อยู่เป็นของคนเอง สถิตินี้อาจทำให้รู้สึกขนลุก และคงไม่ต่างไปจากภาพภาพนี้ ที่ Murad Sezer ช่างภาพของ Reuters บันทึกไว้เมื่อเดือนกันยายน 2014 เป็นภาพเปลเด็กที่ถูกทิ้งไว้บริเวณพรมแดนตุรกี-ซีเรีย ใกล้ ๆ กับเมืองซูรุช แนวรบและแนวที่ผู้ลี้ภัยพยายามข้ามพรมแดน

มูหราด เล่าว่า “บริเวณชายแดนตุรกี-ซีเรีย ตามปกติแล้วไม่เคยเงียบ มีความเคลื่อนไหวตลอด เช่น มีเสียงเด็กร้องไห้ พ่อแม่พยายามขนย้ายแบกหามทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเอาข้ามพรมแดนไปได้ สำหรับผมมันเป็นอะไรที่แปลกมาก ในวันนั้นไม่มีกลุ่มผู้ลี้ภัยเลย ผมจึงมองไปรอบ ๆ และก็เห็นเปลเด็กที่ว่างเปล่าอยู่ มันจุดประกายคำถามมากมาย เป็นไปได้อย่างไรที่ใครจะยอมทิ้งของที่แม้จะดูเป็นของธรรมดา แต่มีความสำคัญสำหรับทารกชิ้นนี้ไว้ได้ ทำไมเจ้าของถึงได้รีบร้อนขนาดนั้น มันไม่มีที่ในรถให้ใส่เปลนี้ไปเชียวหรือ ผมจึงถ่ายภาพเปลนี้ไว้ ผมรู้สึกว่าเจ้าเปลนี้มันโดดเดี่ยวและเศร้ามาก สำหรับผมมันสะท้อนถึงความหมดหวัง สำหรับเจ้าของเปล ถ้ามีความหวังเขาคงไม่ทิ้งมันไว้แบบนี้หรอก ผมถ่ายภาพไว้ทั้งหมด 4 ภาพ ใช้เลนส์มุมกว้างขนาด 22 มม. ถ่ายให้เห็นทะเลทรายเป็นฉากหลัง เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความรู้สึกหดหู่ที่ผู้ลี้ภัยรู้สึกและความทุรกันดารของสภาพแวดล้อม ที่แสงตะวันร้อนแรงสามารถแผดเผาให้หยดน้ำฝนเหือดแห้งไปได้ในชั่วพริบตา”


#LeshiaEvans (Jonathan Bachman, 2016)

Jonathan Bachman ช่างภาพอิสระของสำนักข่าวรอยเตอร์ ภ่ายรูปผู้หญิงที่อยู่ในรูปนี้มีชื่อว่า Ieshia Evans พยาบาลปฏิบัติการอายุ 35 ปี ที่เป็นคุณแม่ลูกหนึ่งจากรัฐเพนซิลเวเนีย ที่เข้าร่วมประท้วงที่บาตันรูจ ร่วมกับผู้ประท้วงรายอื่น ๆ จนกระทั่งได้ภาพการยืนประจัญหน้ากับเจ้าหน้าที่เผยแพร่ออกไปทั้งในสื่อกระแสหลักและในโซเชียลมีเดียที่นำเสนอเรื่องราวพร้อมแฮชแท็ก #LeshiaEvans (ซึ่งเป็นการสะกดชื่อของเธอผิดจาก Ieshia)

หลังจากที่เหตุตำรวจสังหารคนดำ 2 คนติดต่อกันทำให้ขบวนการ “ชีวิตคนดำมีความหมาย” หรือ “Black Lives Matter” ออกมาประท้วงในเรื่องนี้เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2016 เป็นเหตุให้มีประชาชนถูกจับกุมตัวประมาณ 180 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาในความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการกีดขวางทางจราจร

Ieshia Evans เป็นหนึ่งในคนที่ถูกจับกุมด้วย เธอมีลูกอายุ 5 ขวบ อาศัยอยู่ในนิวยอร์กโดยเธอฝากลูกไว้กับสามีเพื่อเดินทางไปประท้วง Natasha Haynes เพื่อนตั้งแต่วัยเด็กของเธอโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ที่เธอเดินทางไปร่วมประท้วงที่บาตันรูจเพราะเธอต้องการมองหน้าลูกชายตัวเองแล้วบอกกับเขาได้ว่า เธอต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ อีกทั้งเป็นเพราะเธอกังวลอนาคตของสหรัฐฯ ที่ลูกของเธอต้องเติบโตขึ้นในภายภาคหน้า เอแวนส์เป็นหนึ่งในผู้ประท้วงหนึ่งร้อยกว่ารายที่ถูกจับกุมในบาตันรูจถูกตั้งข้อหากีดขวางถนนทางหลวง

Jonathan Bachman ช่างภาพอิสระ เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เขาถ่ายภาพนี้ไว้ได้ว่า เขามองเห็น Evans ปลีกตัวออกมาจากผู้ประท้วงแล้วยืนประจัญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ Bachman บอกว่าในตอนนั้นเขากำลังถ่ายภาพผู้ประท้วงโต้เถียงอะไรบางอย่างกับตำรวจอยู่ แต่พอมองข้ามไหล่ขวาของตัวเองไปก็เห็นว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งเดินออกมาบนท้องถนน เธอยืนหยัดอยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่โดยที่ไม่ได้พูดหรือขยับตัวแต่อย่างใด ก่อนที่เธอจะถูกจับกุมตัวหลังจากนั้น นี่ถือเป็นการเข้าร่วมประท้วงครั้งแรกของอีแวนส์

Evans ถูกปล่อยตัวในวันที่ 10 กรกฎาคม 2016 หลังจากถูกควบคุมตัวอยู่นาน 24 ชั่วโมง เว็บไซต์ USuncut ระบุว่าหลังจากที่เธอถูกปล่อยตัวแล้ว Evans ก็ยังคงดูสุภาพและถ่อมตน เธอยินดีที่มีคนชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อเห็นรูปเธอ แต่เธอก็ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่าสิ่งที่เธอทำเป็น “งานของพระเจ้า” โดยมีเธอเป็น “ภาชนะของพระองค์” เธอระบุอีกว่าเธอดีใจที่ยังปลอดภัยและดีใจที่เท่าที่เธอเห็นไม่มีการสูญเสียในการประท้วงในครั้งนี้