ค่ายกำแพงเพชร ค่ายที่ 2 ของชมรมค่ายฯ ABAC ผมได้รู้จักชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่สร้างความหมั่นไส้ให้หลายๆ คนไปรอบทิศ ด้วยลักษณะท่าทางที่มีความมั่นใจในตัวเอง แสดงลักษณะว่าคงแก่เรียน และมีความเชี่ยวชาญเรื่องค่ายฯ เป็นอย่างมาก…. นั้นเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว วันนี้ คิ้ม เป็นรุ่นพี่ที่ใจดีติดอันดับต้นๆ ของชมรมที่น้องๆ ทุกคนรักและเอ็นดู ผมเคยพูดอยู่เสมอๆ ว่า คิ้ม กับ ผม มีเป้าหมายและวิธีมองค่ายฯ เหมือนกัน แต่วิถีการทำงานค่อนข้างสวนทางกันเสมอๆ แม้กระทั่งการเชียร์ทีมฟุตบอลของผมกับ คิ้ม ก็เป็นคู่กัดกัน (ManUtd VS. Liverpool) บางครั้งผมก็รู้สึกว่า เขาเป็นหนังสือเล่มหนาที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ แต่บางทีก็เป็นหนังหรือละครน้ำเน่าดูน่าเบื่อ….. ลองมาติดตามดูท่วงทำนอง และลีลาชีวิตของ คิ้ม ที่เค้านิยามตัวเองว่า ลมหายใจไม่เคยแพ้
ม้าก้านกล้วย : ก็เริ่มต้นเลยก็….ช่วยบอกชื่อหน่อย ชื่อจริงชื่ออะไรครับ
คิ้ม : ชื่อจริงชื่อ ภูเทพ เย็นเศรณี
ม้าก้านกล้วย : ทราบมาว่าตอนมัธยมต้น เรียนสายวิชาชีพ เรียนที่ ACC รึเปล่าฮะ
คิ้ม : มัธยม……
ม้าก้านกล้วย : ได้เรียนมัธยมไหม
คิ้ม : มัธยมต้นเรียน ทวีธาภิเษก ส่วนมัธยมปลาย เอ้ย! ไม่ได้เรียน ม.ปลาย แต่เรียนสายวิชาชีพ เรียน ACC อัสสัมชัญพาณิชยการ
ม้าก้านกล้วย : แล้วมาต่อที่ ABAC
คิ้ม : แล้วก็เรียน ปวส. ต่ออีก 2 ปี ที่เดิม แล้วค่อยมาต่อเอแบค คือมัน Transfer มาได้
ม้าก้านกล้วย : จำได้ว่าระหว่างเรียน ACC ก็ทำค่ายเหมือนกัน ช่วยเล่า…สาเหตุที่ไปทำค่ายที่ ACC และก็ลักษณะการออกค่าย ACC เป็นอย่างไรบ้าง
คิ้ม : แรงจูงใจในการเข้าไปทำค่าย ACC เริ่มต้นที่ปี 2 แต่ได้ไปค่ายจริงๆ ตอนปี 3 แรงจูงใจก็คือมีเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่ได้มีความรู้สึกว่าการทำค่ายเป็นเรื่องสนุกสนาน แต่พอได้รู้จักเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งแล้ว เขาก็เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชมรมอาสาพัฒนาที่ ACC ให้ฟัง ซึ่งช่วงตอนนั้นนี่จะเป็นช่วงใกล้สอบปลายภาคของตอนปี 2 แล้วก็ได้รู้จักกับเพื่อนหลายๆ คน ก็รู้สึกว่า….เออ…รู้สึกอบอุ่นดี ช่วงนั้นเขาก็เตรียมออกค่ายก็เลยไปช่วย ช่ายงาน เดินพวกสปอนเซอร์อะไรอย่างงี้….แต่ไม่ได้ไปค่ายนั้น
ม้าก้านกล้วย : รู้จักค่าย ACC มาก่อน แต่รู้จักในด้านเฮฮาสนุกสนาน
คิ้ม : ไม่ใช่ คือมันเป็น…..มันเป็น Common Sense ที่รู้อยู่แล้วว่า ชื่อ….ชมรมอาสา มันบอกอยู่แล้วว่าคือไปช่วยเหลือคนอื่น แต่ถามว่า ช่วยยังไง ช่วยสังคมยังไงอันนี้ไม่รู้ มีได้ไปร่วมกิจกรรมที่ไม่ใช่การออกไปค่ายบ้าง เช่น การบริจาคสิ่งของ ไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์คนชรา เยี่ยมเด็กพิการซ้ำซ้อน ….อะไรอย่างงี้ ก็คือไปร่วมกิจกรรม แต่ถ้าได้ออกค่ายจริงๆ คือตอนอยู่ปี 3
ม้าก้านกล้วย : ตอนปี 3 ได้ไปออกค่าย ACC
คิ้ม : อืม แล้วหลังจากนั้นออกมาเรื่อยๆ
ม้าก้านกล้วย : โดยมีสถาณะภาพเป็นสมาชิกมาตลอด หรือว่าเข้าไปเป็นคนทำงาน
คิ้ม : ปี 3 ไปในฐานะสมาชิก และหลังจากนั้นก็คือจบแล้ว ไม่มีโอกาสได้เป็นคณะกรรมการ จากนั้นก็ไปในฐานะรุ่นพี่
ม้าก้านกล้วย : อ๋อ 3 ปีจบใช่ไหม
คิ้ม : 3 ปีจบ เรียนต่อปี 4 ปี 5 ก็ไปในฐานะรุ่นพี่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ไม่เคยมีโอกาสได้เป็นคณะกรรมการที่ ACC ส่วนรูปแบบค่ายเขาเนี้ย เขาจะเน้นเรื่องการสอนในลักษณะที่รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง เพราะวุฒิภาวะของเด็กในระดับ ม.ปลาย ที่จะทำค่ายเนี้ยไม่สูงพอที่เด็กจะสามารถเรียนรู้อะไรได้ด้วยตัวเองเหมือนกับระดับของมหา’ลัย เพราะฉะนั้นตอบได้ว่าค่ายอาสา ACC จำเป็นจะต้องมีรุ่นพี่ และระบบงานของเขาเนี้ย คือปี 2 เป็นจะคณะกรรมการ ปี 1 ไปค่ายกลับมา เลือกตั้งเป็นปี2 แล้วปี 3 จะเป็นรุ่นพี่ จะมีเวลา 1 ปีในการดูแลรุ่นน้อง แล้วมันก็จะเป็นอย่างนี้ เป็นช่วงระยะหลังที่….ยิ่งปี 2 ก็ยิ่งเด็กลง มันก็เลยต้องขยับมาเป็น ปี3 เป็นคณะกรรมการ แล้วมันก็มีปัญหาว่าพอ ปี 3 กลับจากค่ายมาแล้วเนี้ยตัวเองจบ แล้วไปเรียนต่อมหาลัย ก็จะขาดการต่อเนื่อง
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ปี2 นี่เท่ากับ ม.5 ใช่ไหม
คิ้ม : ใช่
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ม. 5 มันทำค่ายกันแล้วเหรอ (หัวเราะ)
ม้าก้านกล้วย : จากที่พี่ได้สัมผัสในค่ายที่ ACC ที่ไปอยู่ ช่วง ปี 3 ใช่ไหม พอ ปี4 ปี5 ก็ไปเป็นรุ่นพี่ มองว่าค่ายอาสาฯ ที่เกิดขึ้นในระดับ….จริงๆ เทียบเท่าระดับ ม.ปลาย นั้นแหละ มันสามารถสื่อความเป็นค่ายให้กับเด็กในวัยนั้นได้มากแค่ไหน ในวัยที่ยังแบบสนุกสนานเฮฮา ชีวิตวัยรุ่นอะไรอย่างนี้
คิ้ม : ถ้าในอดีตได้เต็มๆ เพราะที่ ACC เขาค่อนข้างจะสอนให้เด็กมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่มันก็เป็นข้อเสียในเวลาเดียวกันนะ คือเด็กจะทำงานกิจกรรมตั้งแต่เข้าปี 1 เลย ในปีที่พี่เข้านี่ จะมีกิจกรรมที่เป็นชมรม ในระดับ ม. 4 เป็นต้นไป ประมาณ 15 ชมรมให้เลือก เด็กจะมีประมาณทั้งหมด ปี 1 ที่เข้าไป 1200 คน เด็กก็จะเลือกกิจกรรมแล้วแต่ความพอใจว่าฉันชอบอะไร ปี 1 เข้าไปทำกิจกรรมปุ๊บ ปี 2 ก็จะเริ่มหาชมรมอยู่เพื่อเป็นคณะกรรมการแล้ว และปี3 ก็จะเป็นรุ่นพี่ เพราะฉนั้นพื้นฐานทางด้านกิจกรรม ACC ในช่วงสมัยก่อน…ใช้คำว่า แน่นและปึกมาก แต่ข้อเสียของเด็กที่ทำกิจกรรมแล้วไปต่อในมหา’ลัยก็คือว่า e-go สูง โดยเฉพาะเด็กที่ทำกิจกรรมแล้วไปต่อ ABAC จะมีปัญหาคือไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้เลย เพราะคิดว่าตัวเองเจ๋ง แต่ศักยภาพ ความสามารถ มุมมอง ทัศนคติ อะไรต่าง….มี ข้อเสียอย่างเดียว คือทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้
ม้าก้านกล้วย : คิดว่าเป็นเพราะ….เหมือนกับเขาบรรลุอะไรบางอย่างในเวลาที่เขายังเด็กมาก
คิ้ม : ใช่มันเร็วไป
ม้าก้านกล้วย : เหมือนกับเขาประสบความสำเร็จตรงนั้นไปแล้ว เหมือนเขาผ่านตรงนั้นมาได้ เขาเข้าใจว่ามันสมบูรณ์แล้ว พอเข้าไปอยู่ในมหา’ลัยมันก็แบบ….ไม่เปิดรับอะไรอย่างอื่นอีก
คิ้ม : ก็ส่วนหนึ่งก็ใช่ เพราะอย่างตัวพี่เองอยู่ ปี 3 ก็ได้เป็นประธานสี คุมเด็กในสีตัวเองก็ประมาณ 300 คน ต่อประธานสี 2 คน ถามว่าเด็กระดับ ม.ปลาย ให้มาคุมคน 200-300 คน บางคนอาจจะไม่เคย บางคนอาจเป็นแค่กัปตันห้อง ที่ดูแลคนในห้องเนี้ย 40-50 คน ก็ถือว่าเยอะแล้ว ให้มาคุมคน 300-400 คน พอทำได้แล้วหลายๆ คนมันก็รู้สึก pround ในตัวเอง อย่างคนที่เป็นประธานชมรม ดูแลสมาชิกในชมรม 200-300 คน พอจบออกไปแล้ว มันก็มีภาพความเป็นผู้นำ ความเป็น e-go ติดตัวไป ในส่วนที่เป็นชมรม….ลักษณะการถ่ายทอดของชมรมนี้ หรือการปลูกจิตสำนึกจะอยู่ที่รุ่นพี่เป็นส่วนใหญ่ โดยเสาหลักของชมรมจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคนหนึ่ง ซึ่งแกอยู่กับชมรมมาตั้งแต่แกยังไม่เข้าและมีชมรมอาสา พอแกเขามาแล้วแกก็สานงานต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันก็ปลดเกษียณตัวเองออกไปแล้ว เขาก็ดูแลชมรมคู่กับอาจารย์ที่ปรึกษา 2 คน เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี
อรรณพ นิพิทเมธาวี : จริงๆ แล้วควรมีไหมค่ายอาสาฯ ในเด็กวัยขนาดนั้น ฟันธงเลย….วิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
คิ้ม : ถ้าเมื่อก่อนน่ะ….มีได้ เพราะศักดิ์ภาพเด็กพอ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว (คิดนานพอควร) ปัจจุบัน…..โลกเปลี่ยนไปแล้วอะ จะให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม…เป็นไปไม่ได้เลย
ม้าก้านกล้วย : ในภาพรวมพี่ดูเหมือน องค์ประกอบ สื่อการเรียนการสอนที่มันพัฒนาไปเรื่อยๆ แต่ศักดิ์ภาพของเด็ก โดยเฉพาะในวัยนี้ต่ำลงกว่าในอดีตที่เคยมี
คิ้ม : อายุเหมือนกัน แต่สิ่งที่เขาเจอกับสิ่งที่เราเคยเจอมันคนละเรื่องเดียวกัน จุดสนใจก็ไม่เหมือนกัน ถ้าถามตอนนี้….ไม่มีดีกว่า เพราะมีไปก็ไม่ได้คุณภาพ เสียดายตังค์ ล่าสุดที่ไปออกค่ายมา เด็ก 40 คน แต่กลับมาแล้วได้คุณภาพ อยากทำงาน อยากไปค่ายจริงๆ ไม่ถึง 5 คน งบที่ใช้ไป 200,000 บาท แต่ไม่ได้ห่าอะไรเลย งานที่ทำ แทบจะเรียกได้ว่า ไม่ได้มีงานที่เป็นงานก่อสร้างหนักๆ เลยอ่ะ ทำสนามเด็กเล่นขนาด 8×10 ก่ออิฐบล็อคขึ้นมา อุปกรณ์สนามเด็กเล่น ก็ซื้อแล้วก็เอาวาง เอามาลง จากนั้นก็ทาสีรั้ว อาคาร ซ่อมประตูห้องน้ำ โต๊ะ เก้าอี้ ทำหลังคาห้องน้ำ แค่เนี่ย 10 วัน งานเกือบจะไม่เสร็จ ศักยกายภาพมันหายไปไหน….
ม้าก้านกล้วย : นี้คือคำถามต่อ….เด็กวัย 16-17 ในปัจจุบัน
คิ้ม : ใช่….เด็กมันไม่เอาอะ แต่ถ้าไปแล้วสั่งให้ทำอะไร ถ้าอยากทำจะทำ ถ้าไม่อยากทำก็ไม่ทำ แล้วเด็กชุดนี้…ที่ไปนี้ ที่ไปล่าสุด กลางวันพอแดดออกหลบเข้าไปนอน แดดหมดเย็นออกมามีแรง เตะบอล และเป็นอย่างนี้ 10 วัน (555)
ม้าก้านกล้วย : ในฐานะตัวพี่เคยสัมผัส ในฐานะเป็นนักเรียนมาก่อนในที่นั้น ใน ACC กลับเป็นเหตุการณ์ช่วงที่เราเรียนจบมาแล้ว เมื่อไม่นานมานี่แหละ ช่วยในฐานะรุ่นพี่ ไปช่วยงานของคนทำงานยุคปัจจุบันของชมรมค่าย ACC ไม่ทราบว่า ในฐานะตรงที่สัมผัสทั้งสองช่วงเวลาได้มีการวิเคราะห์กันรึเปล่าว่า มันเกิดอะไรขึ้น นอกจากเด็กไม่เอาแล้ว หรือว่าอะไร….เหตุผลที่เด็กมันไม่เอา มันคืออะไรที่ทำให้เป็นอย่างนั้น
คิ้ม : ใกล้ตัวเขาที่สุดเนี้ย คือ การเลี้ยงดูจากครอบครัว อันนี้สำคัญมากที่วิเคราะห์กันมาแล้วได้คำตอบ แล้วฟันธงได้เลยว่า ใช่ ในสมัยก่อนผู้ปกครองจะมอง ACC ว่า เป็นสถานที่ให้ความรู้ทางวิชาชีพ ฉนั้นผู้ปกครองค่อนข้างจะปล่อยเด็กในระดับหนึ่ง ที่จะให้เขามีอิสระในการทำกิจกรรมในระหว่างที่เขาเรียน แต่ ณ ปัจจุบันผู้ปกครองไม่ปล่อย เหมือนกับ ม.ปลาย ที่อื่น หมายถึงว่าเด็กอายุประมาณ 15-16-17 เขารู้สึกว่า….สภาพสังคมที่ไม่ใช่ในบ้านไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเพราะฉนั้นการที่ผู้ปกครองจะอนุญาติให้เด็กไปทำกิจกรรม เช่น ไปค้างคืนนอกสถานที่เป็นระยะเวลามากกว่า 7 วันเนี้ย มากกว่าร้อยละ 90 ไม่ให้ไป ซึ่งถ้าสมัยก่อน….ออกหนหนึ่งเนี้ย 25 วัน
ม้าก้านกล้วย : 25 วัน!!!!
คิ้ม : ถ้ารวมเตรียมค่ายก็ 30 วัน แค่ไปสัมมนา 2 คืนอย่างนี้ ผู้ปกครองยังไม่อนุญาติอะ นอกจากจะมีใบจากทางโรงเรียนว่า เออ….ไปในนามของโรงเรียน โรงเรียนสนับสนุนให้ไป และเป็นช๊อตบังคับที่ว่าถ้าไม่ไปร่วมกิจกรรม จะไม่ผ่านชั่วโมงกิจกรรม….อะไรอย่างนี้ ผู้ปกครองจึงให้ไป เพราะฉนั้นปัญหาเรื่องที่บ้านเป็นปัญหาค่อนข้างสำคัญ แล้วก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เด็กทำกิจกรรมน้อยลง คือ อย่างไงก็ไม่ปล่อยอ่ะ
ม้าก้านกล้วย : นั่นคือ…หมายความว่า แรงจูงใจที่จะทำให้เขาได้มาสัมผัสก็น้อยลง เพราะว่าปัจจัยทางบ้านที่ไม่สนับสนุน แล้วสำหรับคนที่…..อย่างที่คุยกันเมื่อกี้ คนที่ได้มาออกค่ายจริงๆ แล้ว แต่ก็ปรากฎว่า…ก็ไม่ work โดยกระบวนการของค่ายดึงให้เขาเข้ามาสนใจหรือว่าตั้งใจตรงนั้นไม่ได้…
คิ้ม : แค่กับเด็กปัจจุบันกระบวนการของค่ายที่ ACC ที่เคยเป็นมา….ทำไม่ได้แล้ว
ม้าก้านกล้วย : โดยกระบวนการเดียวกันที่ทำในอดีต…
คิ้ม : ใช่..ใช่ ระบบค่าย รูปแบบค่าย จะเน้นในเรื่องของการประชุม หลังจากที่เลิกงานทุกอย่างในแต่ละวันแล้วเนี้ย ตกเย็นหลังกินข้าวเสร็จ ก็จะมีชั่วโมงสันทนาการ ทุกคนก็จะ Relax ผ่อนคลาย จากการเล่นเกมส์สันทนาการ จากนั้นก็จะเป็นการประชุมที่เป็นทางการ จะมีรูปแบบการประชุมสากล ที่เหมือนกับที่รัฐสภาเขาใช้กัน จะมีประธานในที่ประชุม มีเลขาฯ ในที่ประชุม ใครที่จะเสนอความคิดเห็น ก็คือมีวาระในการประชุม แล้วจะมีประธานดำเนินการประชุม แล้วใครที่จะเสนอเรื่องราวต่างๆ ก็จะยกมือ บอกชื่อ บอกตำแหน่ง แล้วก็พูดในสิ่งที่ตัวเองอยากแสดงความคิดเห็น ก็ไล่ๆๆ ไป วันหนึ่งโดยเฉลี่ยแล้วก็ประชุมประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน
ม้าก้านกล้วย : คือให้อภิปรายกัน
คิ้ม : ใช่ แล้วเด็กสามารถจะเรียนรู้กระบวนการอะไรจากตรงนี้ ทำให้เขาได้คิด พอหลังจากประชุมเสร็จ…เด็กที่ยังติดค้างอะไรอยู่เนี้ย ก็จะมานอกรอบคุยกับรุ่นพี่ หรือคุยกับคณะกรรมการ เสร็จจากประชุมแล้ว คณะกรรมการก็จะประชุมงานกันต่อ เพื่อสรุปถึงปัญหาในแต่ละวันที่เขาเจอ และพรุ่งนี้ว่าจะทำอะไรต่อ ก็รันงานอย่างนี้ไปทุกวัน
ม้าก้านกล้วย : นี่คือวิธีการปฏิบัติที่ทำเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
คิ้ม : ใช่ แต่มันไม่สามารถเอามาใช้กับเด็กรุ่นนี้ได้แล้วเพราะว่า เด็กไม่มีความรู้สึกอยากจะนั่งประชุมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เด็กไม่อยากพูดในที่ประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น เพราะแค่ลำพังมันทำงานในแต่ละวัน มันก็เหนื่อยจะตาย..ชิบหายแล้ว มันก็เลยไม่มีกะจิตกะใจมานั่งฟัง ‘ไม่รู้พูดเรื่องอะไรกัน’ และตัวเองก็ไม่ได้สนใจในเนื้อหา ไม่ได้สนใจเรื่องเกี่ยวกับสังคม ไม่ได้สนใจอะไรทั้งนั้น ซึ่งมันแตกต่างจากเมื่อก่อน คือเด็ก blank จริงๆ แต่พอได้ฟังอะไรในที่ประชุมแล้วเนี้ย มีคนจุดประเด็นจุดประกายให้แล้วเด็กจะสนใจ แล้วมันก็อยากใฝ่รู้ พออยากใฝ่รู้เสร็จปุ๊บ หลังประชุมเสร็จมันก็จะมาคุยกัน และมันก็จะมีการแลกเปลี่ยน มีการถ่ายทอด แต่เดี๋ยวนี้ “กูไม่มี” ให้ป้อนถึงปาก เคี้ยวให้แล้ว ส่งให้แล้ว เด็กก็ไม่เอา นี้คือสภาพปัจจุบัน เด็กจะสนใจเรื่อง Internet สนใจเรื่อง Chat สนใจเรื่องหนัง สนใจเรื่องรถ สนใจเรื่องผู้หญิง นี่คือสิ่งที่เด็กเป็น เพราะนอกเหนือจากเวลาเรียนของเขาแล้ว คือในสมัยปัจจุบันเนี้ย สภาพการเรียนการสอนที่ ACC เนื้อหาเบาลงกว่าสมัยก่อนเยอะ แต่ด้วยคุณภาพเด็กมันด้อยลง ทำให้การเรียนมันยากขึ้นมั้ง… มันมีระบบที่ซ่อมแล้วซ่อมอีก สมมุติตกตั้งแต่สมัยปี 1 ไปซ่อมตอนปี 3 ระหว่างทาง ปี 2 ก็ต้องมานั่งซ่อมของปี 1 ถ้าซ่อมไม่ผ่าน ขึ้นไปปี 3 ก็ค่อยย้อนมาซ่อมของ ปี 1 เพื่อให้จบ นั้นหมายความว่าในแต่ละวันเนี้ย เด็กบางคนจะต้องเรียนถึง 5 โมงเย็น มีบางคน มีบางช่วงเรียนถึง 6 โมงเย็น คือ ซ่อม ซ่อม ซ่อม คือซ่อมกันทั้งวัน แล้วมันเป็นทางออกของโรงเรียนอย่างหนึ่งในการหาเงินเข้ากระเป๋า
ม้าก้านกล้วย : โดยการเปิดซ่อม
คิ้ม : โดยการซ่อม เพราะถ้าเด็กซ่อมไปเรื่อยๆ ทางโรงเรียนได้ตังค์ไปเรื่อยๆ ได้เงินหมุนเข้ามาเรื่อยๆ
ม้าก้านกล้วย : นั้นคือเด็กสายวิชาชีพควรมีเวลาว่าง หายไป
คิ้ม : ใช่ เมื่อก่อน 3 โมงปุ๊บก็จะเลิก พอเลิกเสร็จปุ๊บเนี้ย มันจะมีช่วงเวลา 3-6 โมงเย็นที่จะทำกิจกรรม ทุกคนก็จะวิ่งเข้าห้องชมรมเพื่อไปนั่งฟังการประชุม และก็รันงานว่า…พรุ่งนี้ทำอะไร อาทิตย์ต่อทำอะไร หรือจะโปรเจ็คอะไรใหญ่ๆ เพราะฉะนั้นทุกชมรมจะมีกิจกรรมออกมา หลัง 3 โมงก็จะมีการออกอากาศวิทยุ ออก….อะไรนะ
ม้าก้านกล้วย : เสียงตามสาย
คิ้ม : เพื่อที่จะบอกว่า เสาร์นี่ อาทิตย์นี่ ศุกร์นี่ หรือวันพฤหัสซึ่งมันเป็นวันหยุดของ ACC คนที่เรียน ร.ด ก็เรียนไป คนที่ไม่เรียน ร.ด ก็มีกิจกรรมไปทำนอกสถานที่ จะไปค้างคืน หรือจะไปอะไรก็ตามแต่ มันบูมมากคือเด็กทุกคนวิ่งเข้าหากิจกรรม นั้นเมื่อ 10 ปี ก่อน แต่ปัจจุบันเหลือชมรมอยู่ประมาณไม่เกิน 3 และต้องใช้ช๊อตบังคับ ก็คือในชั่วโมงกิจกรรมใน 1 อาทิตย์จะมีชั่วโมงกิจกรรม สลับกันไประหว่าง ปี 1 ปี 2 ปี 3 เขาให้ชมรมพวกนี่ ขึ้นเวทีเลยนะ แล้วเอาเด็กทั้งหมดของปีนั้นมานั่งฟังและให้เขาเลือกเอาเองว่าเขาอยากอยู่ชมรมไหน แต่กลายเป็นว่ามีชื่ออยู่ในชมรม แต่ว่าพอถึงเวลาเด็กก็ไม่ทำ นี่คือมีไฟท์บังคับให้แล้วนะ แล้วทุกคนจะต้องลงชั่วโมงกิจกรรม เพื่อให้ตัวเองเรียนจบผ่านชั้นในแต่ละปี ส่วนเด็กคนไหนที่มีปัญหาเรื่องความประพฤติ ก็จะถูกส่งไปยังชมรมเพื่อร่วมกิจกรรม ถ้าไม่ไปก็จะไม่ให้ขึ้นชั้นอะไรอย่างนี้ ….เนี้ยคือวิธีแก้ของเขา
ม้าก้านกล้วย : อืมม… ก็กลับมาที่ ABAC พอจบก็เข้ามาเรียน ABAC ตอนนั้นรู้เข้ามาจะเรียนภาคค่ำ ภาคกลางวันทำงานไปด้วย ตอนเข้ามาเรียนนั้นยังไม่มีชมรมค่ายอาสาฯ ใน ABAC ถูกปะ
คิ้ม : ถูก
ม้าก้านกล้วย : ตอนนั้นมีค่าย ชมรมโรตาแร็ค อะไรทำให้พี่ไปสมัครไปออกค่ายที่กำแพงเพชร (ในนามของสโมสรนักศึกษา)
คิ้ม : ตอนนั้นไม่รู้ ก็คือ…รู้สึกจะออกมาเรียนอย่างเดียวเพราะว่าไม่ไหว และเป็นช่วงใกล้จบ เป็นวิชาเมเจอร์ ซึ่งมันค่อนข้างยาก ก็เลยตัดสินใจว่าพักงานก่อนออกมาเรียน ทีนี้..คนที่มันเคยทำอะไร…แล้วไม่มีเวลาว่าง มันก็เริ่มหงุดหงิด ก็เลยคิดว่า…เราจะทำอะไรดีในมหา’ลัย จากที่ตัวเองเคยทำกิจกรรมค่ายฯ ก็เลยคิดว่าเราไปออกค่ายฯ ดีกว่า แต่ตอนนั้นก็แค่รู้ว่ามีโรตาแร็คที่ออกค่าย เผอิญๆ ไปเห็นป้ายอันหนึ่ง ก็เลยคิดว่าเป็นโรตาแร็คก็เลยขึ้นไปสมัครที่สโมฯ เพราะป้ายบอกให้ไปสมัครที่สโมฯ แต่ตอนนั้นคือ…รู้สึกว่าเขาจะนัดคุยอะไรกันไว้เรียบร้อยแล้ว ก็ไปสมัครทีหลัง เขาก็ขอชื่ออะไรไป และก็บอกสิ่งที่ควรจะเตรียมตัว เพราะตอนนั้นรู้สึก มีทติ้งไปเรียบร้อยแล้วมั้ง
อรรณพ นิพิทเมธาวี : มีมีทติ้งด้วยเหรอ ไม่เห็นรู้เรื่องเลย
คิ้ม : มีๆ เพราะก่อนไปค่ายฯ สโมฯ มันจัด เพื่อที่จะบอกว่ากิจกรรมตรงนี่เป็นอะไร ยังไง คุณจะต้องเตรียมตัวยังไง วันนั้นขึ้นไปเจอ ที (ประธานฝ่ายการเงิน ของสโมสรนักศึกษาในตอนนั้น) เขาก็บอกว่า อย่างงี้ๆ นะ และก็นัดวันขึ้นรถเลย
ม้าก้านกล้วย : นั้นหมายความว่า ตอนเรียน ABAC ชั่วแรกเข้ามาเรียนกลางคืนอย่างเดียว กลางวันก็ทำงานไป ไม่ได้สุงสิงอะไรในมหาลัยในมหาลัย
คิ้ม : ไม่ทำอะไรเลย แค่นั้นเวลาก็ไม่พอแล้ว
ม้าก้านกล้วย : จนพี่ออกจากงานแล้ว มาเรียนอย่างเดียว ก็เลยมีเวลาว่าง ก็เลยมาหาอะไรทำ ก็เลยไปออกค่ายฯ ตอนนั้นเรียนประมาณปีอะไรแล้ว
คิ้ม : คือจริงๆ แล้ว ถ้าเรียน ปวส. แล้วโอนมาเนี้ย มันจะเรียนอีกประมาณ 3 ปี ถึง 3 ปีครึ่ง แต่เนื่องจากเรียนภาคค่ำด้วย และสมองโง่ๆ อย่างเรา มันไปได้น้อย มันก็เลยใช้เวลาเยอะ เลยใช้เวลา 4ปี
ม้าก้านกล้วย : ตอนขึ้นปี 4 ก็ไปออกค่าย
คิ้ม : ใช่ปีสุดท้าย ปี 4
ม้าก้านกล้วย : แล้วที่ค่ายกำแพงเพชร ตอนนั้นไปคนเดียว
คิ้ม : อืม…. ไปคนเดียวเลย เก๋าๆ (หัวเราะด้วย)
ม้าก้านกล้วย : แล้วถามตอนนี้ว่า…ย้อนไปถึงค่ายกำแพงเพชรเนี้ย ความรู้สึกตอนแรกที่ได้เห็นค่ายในตอนแรก รู้สึกอย่างไร
คิ้ม : คือตอนขึ้นรถไป พอรู้ว่าไม่ใช่โรตาแร็คแล้วเนี้ย ก็เลยแผลกใจว่า…ยังมีคนที่รวมกลุ่มแล้วทำค่ายฯ ในรูปแบบที่ไม่ใช่ชมรมได้อีกเหรอ ตอนนั้นก็สงสัยนะ และก็เห็นอะไรหลายอย่างที่…. คือถ้าย้อนกลับไปในเวลานั้น ด้วยสภาพเราตอนนี้ คือจะบอกว่าตอนนั้นเราก็กบในกะลา เพราะคิดว่าสิ่งที่เราเจอมาใน ACC มันสุดยอดแล้ว มันเปอร์เฟ็คแล้ว ไม่มีอะไรที่จะยากไปกว่าสมัยที่เราไปทำ เคยทำแล้ว และก็คิดว่ากิจกรรมรูปแบบค่ายจะ เหมือนกันทุกมหา’ลัย พอครั้งหนึ่งได้มีโอกาสคุยกับเทคนิคกรุงเทพ ได้ไปคุยกับ ม.ศรีนคริทร์วิโรทร์ ซึ่งรูปแบบเหมือนกับที่ ACC และก็ได้มีโอกาสได้คุยกับรุ่นพี่ก็เลยได้ความรู้ ได้ข้อมูลมาว่ารูปแบบหลายๆ อย่างในค่าย ACC เนี้ย ไปผสมผสานจากที่อื่นมา แล้วก็ออกมาเป็นในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด ณ จุดตรงนั้น มันก็เกิดความรู้สึกว่า ไอ้นี่ก็เป็นจุดบอด ไอ้นั้นก็เป็นจุดบอด ไอ้นั้นก็ทำไมเป็นอย่างนี้ ไอ้นั้นทำไมเป็นอย่างนั้น ไอ้นี้ทำไมมันเป็นอย่างนี้ คือเราเห็นแล้ว…เรามีความรู้สึกเหมือนกับว่า อ๋อ ใช่ เพราะเหมือนกับว่าคนตรงนี่มารวมกลุ่มกัน ทำโดยที่ตัวเขาเองไม่มีประสบการณ์ ไม่เป็นระบบ ไม่เป็นระเบียบ คือเหมือนกับหาแก่นอะไรไม่เจอ แต่ตอนนั้นรู้สึกดีเพราะว่า คนมาทำค่ายด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ส่วนตัวของเขา แต่ช่วงเวลาที่คุณไปทำอะไรก็ได้อ่ะ แต่คุณเลือกที่รวมกลุ่มมาทำค่ายฯ แล้วทำในสภาพที่ตัวเองก็ไม่รู้อะไรเลย มีแต่แรงกดดัน
ม้าก้านกล้วย : เหมือนลองผิดลองถูก เท่าที่ฟังจับใจความได้ว่าจากการพูดคุยกับองค์กรอื่นที่ออกค่าย ทำให้เราเลยมองว่ามันมีจุดร่วมอะไรบางอย่าง ทำให้คิดว่ารูปแบบของ ACC น่าจะเป็นแบบมาตราฐานพอสมควร
คิ้ม : ใช่ เป็น formal
ม้าก้านกล้วย : เป็นมาตราฐานพอสมควรของค่ายอาสา พอมาถึงที่กำแพงเพชรมันไม่เหมือนกัน ก็เลยรู้สึก “เอ๊ะมันยังไง” มันไม่เข้าเกณฑ์มาตราฐาน ในรูปแบบค่ายอาสาฯ
คิ้ม : เออ… และค่ายนั้นก็ได้เจอ ไอ้เต๋า ที่เป็นรุ่นน้องที่ ACC หลายๆสมัยที่มันอยู่ ACC มันก็ไม่ได้ทำกิจกรรมมากนั้น ซึ่งก็ยังแปลกใจอยู่เหมือนกัน
ม้าก้านกล้วย : รู้จักกันที่ ACC มาก่อน…
คิ้ม : รู้จักกัน เตะบอลด้วยกันกับมันตอนเย็น ไล่เตะมันกลิ้งโคโล่ๆ (555) รู้จักกันตั้งแต่ ACC ก็เคยเห็นหน้ากันแหละ แต่ไม่ค่อยได้คุยกัน
ม้าก้านกล้วย : แต่ไม่ได้อยู่ชมรมค่ายฯ ACC
คิ้ม : ไม่ได้อยู่ชมรมไหนเลยมั้ง ยังแปลกใจว่า มันมาอยู่ ABAC เอ๊ะทำไมมันอยู่ชมรมส่องทาง ก็ได้คุยกับมันในค่ายกำแพงเพชรมันบอกว่ามันอยากทำค่ายฯ ของชมรมของมันเอง มันก็เลยให้เล่าเรื่องค่ายอาสาที่ ACC ให้ฟัง ทั้งกลุ่มเลย ก็เลย บลีฟ ให้มันฟังว่า “อ่ะ กิจกรรม รูปแบบและก็ลักษณะการสอน จุดเด่นในค่ายคืออะไร และเปรียบเทียบกับค่ายที่เป็นสัมผัสอยู่” มันก็เห็นความแตกต่างนะ แต่ว่ามันมีเด็กคนหนึ่งในกลุ่มของมัน..พูดให้พี่ได้คิด ซึ่งตอนนั้นเราฟัง แล้วเราก็อึ้งเลยนะ เหมือนกับเราโคตรยึดติด มันว่า “พี่แต่ละที่ แต่สถานที่มันก็แตกต่างกันไป รูปแบบและก็จุดมุ่งหมาย …จุดมุ่งหมาย..โอเคไปในทางเดียวกัน แต่ว่าแนวทาง มันคงต้องแตกต่างกันแหละ” แต่ตอนนั้นที่ไม่ได้คิดถึงตรงนี้ เพราะรู้สึกว่าคนที่ทำค่ายตรงนั้นใหม่มาก
ม้าก้านกล้วย : คณะกรรมการค่ายกำแพงเพชรดูใหม่มาก
คิ้ม : อืออ..จาการได้พูดคุยกับหลายๆ คน และตอนนั้นมีเพื่อนจากหอการค้า ก็เลยทำให้เราได้คำตอบว่า เหมือนเขากำลังหัดเดินนะ แล้วก็เราที่ไม่รู้ว่าเขามองกิจกรรมค่ายฯ ตรงนี้ว่ายังไง ก็เลยเหมือนกับว่า เออ เขาก็เพิ่งเริ่มต้น ในขณะเดียวกัน…เรามีสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาแล้ว เราก็เลยอยากช่วย อยากถ่ายทอดอะไรบางอย่างที่เราเคยเจอมา เพื่ออย่างน้อยเขาจะได้เอาไปเป็นข้อมูล เป็นพื้นฐานในการทำค่ายเขาต่อไป เพราะตัวเองไม่คิดว่าตัวเองจะไปค่ายอีก คิดว่าจะไปค่ายนั้นค่ายเดียว เพราะใกล้จบ
ม้าก้านกล้วย : นั้นนำมาซึ่งการเสนอวาระ การแสดงละครรอบกองไฟ ตอนนั้น นั้นคือจุดประเด็นแรกที่จะหยิบยื่นมือเข้าไปช่วยในเรื่องของกิจกรรม ในรูปแบบค่าย หรือเปล่า..
คิ้ม : ก็เป็นส่วนหนึ่ง คือมองว่า… เออ… ความวาไรตี้ของคนที่อยู่ตรงนั้น สูงมาก เพราะทุกคนมาจากต่างคณะ แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้สนิทอะไรกันเลย ยิ่งพื้นฐานของเด็ก ABAC แล้ว การจะเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน ในระยะเวลาไม่กี่วัน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แล้วตัวกิจกรรมของค่ายเนี้ย ก็ไม่มีอันไหนเลยที่จะละลายพฤติกรรมคนและทำให้คนสนิทกัน ก็เลยคิดว่าอยากใช้สันทนาการเป็นตัวช่วย คือคนที่อยู่เป็นกลุ่มก็อยู่เป็นกลุ่มไป คนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เขาก็อยู่ในส่วนของเขา เราก็เลนคิดว่าอย่างน้อยเราให้สถานะการณ์ช่วยดีไหม หรือจะอยู่นิ่งๆ ตอนนั้นก็ชั่งนำหนักอยู่ แต่ด้วยความที่…ก็อย่างที่บอกตอนแรกว่าคนมันอี-โก้สูง มันก็เลยทำไป ถ้าถามว่า ตั้งใจโชว์ออฟหรือไม่ ก็ไม่ใช่ กลายเป็นคนซวย
ม้าก้านกล้วย : ซวยยังไง
คิ้ม : …คือต้องยอมรับว่าธรรมชาติของผู้ชายค่ายเราเนี้ย ไม่ใช่สุภาพบุรษ….ที่จะมานั่งแบบว่า เป็นฮีโร่ เทคแคร์ดูแลผู้หญิง นั้นคือไม่ใช่ธรรมชาติผู้ชายในค่ายเลย เสร็จแล้วถามว่า…เอ๊ะ…และใครควรจะทำ หรือควรจะมีไหม หรือจะมีใครที่จะสนิทกับผู้หญิงและเทคแคร์ อะไรทำนองนี้ ก็คิดว่าจะลองทำดู แต่ทำไปทำมากลายเป็นว่ากูซวยอีก คือสรุปว่า…จะขยับทำอะไรซวยทุกอย่าง
ม้าก้านกล้วย : เดี๋ยวนะ กลับมา…ผมว่ามันเป็นอีกประเด็นปลีกย่อย ผมจำได้ว่าเสนอวาระเรื่อง ให้เล่นละครรอบกองไฟ ให้ไปแบ่งกลุ่มและจำได้ว่า หัวข้อ ‘จานข้าวกับสมุด’
คิ้ม : เหตุการณ์นั้นจำได้ คือปกติค่ายของตัวเอง พอตกเย็นเลิกงานเสร็จ สันทนาการเสร็จ จะประชุม แต่ที่นี่ไม่มีการประชุม พอตกเย็นกินข้าวเสร็จก็รอบกองไฟ แล้วที่ค่ายปกติของทุกมหา’ลัยเนี้ย ไม่มีการกินเหล้า แต่ที่นี่กินเหล้าก็เลยมีความรู้สึก…. ถามว่าค้านในตัวเองไหม…ก็ค้าน
อรรณพ นิพิทเมธาวี : แล้วกินด้วย…ไหม
คิ้ม : ช่วงแรกๆ ไม่ได้กิน… ก็เลยไม่เข้าใจว่า…ทำไมต้องกิน เป็นคำถามเหมือนคนทั่วไปเลยว่า ‘ทำไมคุณต้องกินเหล้า’ และก็คำถามต่อๆมา ก็คือ กินแล้วจะปลอดภัยไหม กินและจะเกิดปัญหาอะไรไหม เมาแล้วอาละวาดอะไรไหม ก็มี และในขณะเดียวกันในค่ายนั้นก็ไม่ได้มีเฉพาะเด็ก ABAC ก็มีเพื่อนต่างมหาลัยด้วย แล้วไอ้ตอนที่เราขึ้นรถและลงจากรถ แม้กระทั่งเด็กผู้หญิง อันนี้ไอ้จิ๋วเล่าให้ฟังนะ ว่าเนี้ยพอตอนลงจากรถแล้วเนี้ย พวกผู้หญิงทั้งหมดจะรวมตัวกันแล้วกลับบ้าน เพราะว่ากลัว ใช้คำว่ากลัว..(5555) เอ๊ะ…ตกลงคนเหล่านี้ไว้ใจได้เหรอ ในสภาพที่ไม่ได้กินเหล้าสติสตังค์ยังครบอยู่เนี้ยมันก็ปลอดภัย แต่ถ้ากินเหล้าแล้วเมา เกิดมันอาละวาด เกิดมันปล้ำ เกิดมีเรื่องมีราว แล้วไม่มีอาจารย์มาดูแลอะไรอย่างนี้ อย่างที่ ACC ก็จะมีอาจารย์เขาขึ้นๆ ลงๆ มาดูแล แต่นี่ไม่มี มึงกินเหล้ากัน แล้วแต่ละคนหน้าตาแบบ…ได้คุณภาพ ผ่านไปช่วงแรกๆ ก็โอเค เฮฮา เราก็นั่งๆๆๆ แล้วมันเงียบ เงียบแบบว่า…คนมันยังไม่สนิทกันใช่ไหม แล้วจะให้มานั่งทำไมรอบกองไฟ ถึงเวลาง่วงก็เข้าไปนอน ก็เลยคิดว่าจะปล่อยเวลาให้มันศูนย์เปล่าไปทำไม ก็เลยคิดว่าจะหาอะไรทำเพื่อทำให้เกิดความรู้สึกว่า อือม ..มีอะไรทำและก็ละลายพฤติกรรมทำให้คนสนิทกัน
ม้าก้านกล้วย : แล้ว… จนทุกวันนี้ยังรู้คำตอบ โอเคประกาศไป…จำได้ว่า ให้วันรุ่งขึ้นแสดงเลย หรือ 2 วันอะไรประมาณนี้
คิ้ม : ก็คือ มันเงียบจริงๆ ก็เลยเสนอความคิดเห็นไปว่า “เล่นอันนี้ไหม” แต่จริงๆ ตอนนั้นคิดไว้ 4-5 อย่าง คือจะเอาสันทนาการลง เหมือนกับมองแล้วไงว่า ในค่ายไม่มีสันทนาการเลย ก็เลยคิดว่าจะเอาสันทนาการ มาเป็นตัวสร้างบรรยากาศ แต่ที่นี้ถามว่าจะคุยกับใคร ถ้าเป็นทั่วๆ ไป มันจะมีคณะกรรมการค่ายที่เห็นได้ชัด มีบทบาทได้เต็มที่ จำได้มีคนบอกว่ามีอะไร ก็คือให้พูดกันรอบกองไฟ
ม้าก้านกล้วย : ให้เสนอขึ้นมาเลย
คิ้ม : ให้เสนอขึ้นมาเลยไม่ต้องผ่าน ไม่ต้องมาบอกคณะกรรมการ ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคณะกรรมการบ้าง รู้แต่ว่า ไอ้เนี้ย คือคนทำค่ายๆ ใช้คำว่าคนทำค่าย ก็เสนอไปแค่อย่างเดียว ก็คือเหมือนกับว่าเราลองแย๊ปดูก่อน ถ้าเวิอค์ 2-3-4 จะตามมา ปรากฏว่าเลือกอันแรกอาจจะยากไป หรือดูไร้สาระเกินไป (หัวเราะ) ไม่ผ่าน อันที่เหลือก็เลยปิดประเด็น
ม้าก้านกล้วย : จำได้ว่า…เสนอขึ้นมาและก็ไม่มีใครพูดอะไร แล้ววันรุ่งขึ้นตอนบ่าย พี่ก็พูดเองว่า “ไม่เอาแล้วเว้ยย…”
คิ้ม : ไม่ใช่คืนวันต่อมา เพราะไม่ได้รับความร่วมมือ ไม่ผล ไม่มีเอฟเฟคอะไรตอบกลับมา ก็เลยคิดว่าไม่เอา คงไม่มีใครอยากเล่น ล้มโปรแกรมเดิมทั้งหมด และตอนนั้นก็ เริ่มรู้สึกแล้วว่า…กลิ่นตุๆ เริ่มออก (หัวเราะ) ก็เลยอยู่นิ่งๆ แล้ว กูไม่ทำอะไรแล้ว ทำแล้ว…
รัตติกาล : กลิ่นตุๆ หมายถึง….
คิ้ม : กลิ่นตุๆหมายถึง อคติ
รัตติกาล : ไม่ชอบขี้หน้าเราแล้ว..พูดง่ายๆ
คิ้ม : มากเลย…จำได้เลยว่า พอผ่านช่วงนั้นเสร็จปุ๊บ คือไม่มีใครคุยเลยทั้งค่าย ก็เลยคิดว่ามันก็เริ่มแบบว่าท้อ.. ก็ขี้เกียจอยู่แล้ว อยากกลับ ก็เลยจะบอกว่าจะกลับ เสร็จปุ๊ปวันรุ่งขึ้นเนี้ย ตอนนั้นมันหารถออกไปไม่ได้หรืออะไรซักอย่าง เลยไม่ได้ออก จำได้เลยนี้…ไอ้นกมันนั่งอยู่ ประมาณ 4-5 โมง มันก็ทำหน้าตายตามสไตล์มัน แล้วบอก “อ้าว ยังไม่กลับอีกเหรอ” (ทั้งวง หัวเราะพร้อมกัน) ทำหน้าแบบผิดหวังสุดๆ (ยังหัวเราะอยู่) จำได้ๆ ก็เลย….แบบ อยากให้กูกลับกันนักใช่ไหม “กูไม่กลับ” ก็เลยไม่กลับ เหมือนกับเราก็กลับมาถามตัวเองว่า ถ้าเรากลับตอนนี้ ที่ผ่านมามันก็เท่ากับว่าเรายอมแพ้ คือเราไม่ยอมแพ้คนอื่นนะ เรายอมแพ้ตัวเราเอง ในเมื่อเราตั้งใจ เรามีความรู้สึกดีๆ ที่อยากจะมาทำอะไรอย่างนี้ ก็ทำให้เต็มที่ละกัน อะไรจะเกิด หรือใครจะรู้สึกยังไง ก็ไม่สนใจแล้ว
ม้าก้านกล้วย : ก็เลยอยู่ค่ายต่อ คืออยู่ค่ายต่อไปทั้งๆ ที่มีอะไรบางอย่าง บรรยากาศตุๆ นั้นแหละ อยู่กับเราไปตลอดจบค่าย
คิ้ม : อือ ไม่รู้ทำได้ยังไง
ม้าก้านกล้วย : พี่ก็ยังไม่รู้…มันหมายความว่าตอนนั้นคือสงสัย แต่ยังไม่รู้คืออะไร หรือว่าเริ่มรู้สึกแล้ว
คิ้ม : เริ่มรู้สึกแล้ว เพราะว่าก็ได้คำตอบเหมือนกันแล้วว่า คือทุกค่ายมันมีกระบวนการของค่ายเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าเราอาจไม่เห็น หรือเราอาจยึดติดกับในอดีต ในสิ่งที่เราเคยเจอ เราก็เลยถอยออกมาเป็นผู้ดู พยายามที่จะไม่เข้าไปจุ้นจ้าน วุ่นวาย กับทั้งบุคคล และกับทั้งกระบวนการ
ม้าก้านกล้วย : คือ ทำหน้าที่เป็นสมาชิกนิ่งๆไป ตามกระบวนการไป
คิ้ม : ใช่ แต่พอนิ่งปุ๊บ…ก็โดนอีก
ม้าก้านกล้วย : โดนอะไร
คิ้ม : คือเหมือนกับว่า แอ็คชั่นที่เราแสดงออกไปแล้วเนี้ย คนมองไปแล้วตรงนั้น แล้วเราถอยมานิ่ง ยิ่งกลายเป็นว่า เหมือนกับเราสร้างความแตกแยกให้แตกต่างออกไป คือ โดนทั้งขึ้น ทั้งล่อง
ม้าก้านกล้วย : และช่วงนั้นพอรู้สึกอย่างนั้น ได้เข้าไปคุยกับใครไหม คนทำค่าย กรรมการค่าย หรืออะไรที่เราเรียกก็แล้วแต่
คิ้ม : คือไม่ต้องคุยเลย มีคนเข้ามาคุยเอง ด้วยความหมั่นไส้ (หัวเราะ)
ม้าก้านกล้วย : มีคนเข้ามาคุย ใคร…
คิ้ม : ก็หลายคน ตอนนั้นที่คุยเยอะหน่อยก็จะเป็น “ไอ้เอ บ่าย” เพราะมีอยู่วันนึง ท่าทางมันจะตื่นเช้าแล้ว และวันนั้นพี่เป็นเวรผลัดสาม ก็คือไม่ได้นอน มันก็ตื่นมาตี 5แล้วมันก็นั่งก่อกองไฟ ก็เลยคุยกับมัน มันก็พูดอะไรให้ฟังเยอะ และมันก็ทำให้เราเริ่มจับทิศทางได้ถูกว่า เราควรจะวางตัวยังไง เราควรจะคุยอะไรกับใคร คือเริ่มรู้สึกตัว เริ่มจับทางได้ถูก ในจังหวะมันไม่เหลือโอกาสแล้ว สายไปแล้ว..
ม้าก้านกล้วย : เป็นช่วงปลายค่ายแล้ว
คิ้ม : ปลายค่าย…
ม้าก้านกล้วย : ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า มันก็มีอะไรที่ยังค้างคาอยู่ เหมือนกับเรารู้แหละว่าเราไม่สามารถลงไปแก้ไขมันได้ เพราะมันไม่มีเวลาแล้ว
คิ้ม : ใช่ ก็เลยคิดว่าจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
ม้าก้านกล้วย : แต่ช่วงนั้นกลับจากค่ายมา พี่ก็หายไป เกือบปีมั้งที่หายไป
คิ้ม : ก็ ค่ายกาฬสินธุ์ จะไปแต่ว่าติดทำรายงาน และติด present ก็เลยไม่ได้ไป เพราะว่าวันที่เลี้ยงค่ายที่ไดโดมอน พี่ก็ไป แต่ตอนนั้นคือไม่มีใครโทรบอก
ม้าก้านกล้วย : เลี้ยงค่าย ไดโดมอน เลี้ยงของค่ายกำแพงเพชร
คิ้ม : อือ ตอนนั้นรู้ตอนไหน… ไม่รู้ใครโทรมา บอกเนี้ย….คือกินกันใกล้เสร็จแล้ว จะมาก็มาแล้วกัน จำได้เลย
นกเสรี : ยังกินกันไม่เสร็จเลย
คิ้ม : ไปแล้วกูก็โดนอีก (หัวเราะ) ….เนื้อสองช้อน โห… แม่งใส่เกลือแบบเค็มนรก
อรรณพ นิพิทเมธาวี : โดนแกล้งว่างั้นเหอะ
คิ้ม : เค็มนรก คือเรียกมาให้โดนแกล้ง ก็กินเว้ย…อยากแกล้งก็แกล้งไป ก็กินไป ทุกคนมีสีหน้าแบบพอใจว่า “กูได้แก้แค้นแล้ว” อะไรอย่างนี้ อ่ะก็เฉยๆ และอีกครั้งหนึ่งบังเอิญๆ วันนั้นแวะผ่านไปที่โต๊ะ แล้ววันนั้นไปพัทยากัน ไอ้ช้างแหละปากพล่อย เอ๋ยปากชวน ก็เลยได้ไป ก็รู้อีกว่า….ส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้หญิงมันก็ยังมีอคติส่วนตัว ประมาณแบบ “มึงมาทำไม กูไม่ได้เชิญมึงเลย เสือก” แสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์อย่างเห็นได้ชัด
ม้าก้านกล้วย : ถึงอย่างนั้น ก็ยังรู้สึกอยากกลับอีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ดูเหมือนไม่มีใครที่ต้อนรับเราเลย
คิ้ม : พิษณุโลก (ค่าย 4) ก็เหมือนกัน เพราะว่างเต็มที่แล้ว ก็เลยบอกไอ้ต้นไปว่า “เฮ้ย เดี๋ยวจะช่วยไปเตรียมค่าย“ ไอ้ต้นก็รีบ บอกว่า “เต็มพี่เต็ม เต็ม เต็ม” และไอ้วันที่ขึ้นรถไป คืนแรกจำได้ว่าคืนนั้นไปนอนที่อุทยานแห่งชาติ น้ำตกชาติตระการ ไปสัมมนากันที่นั้นคืนหนึ่ง
ม้าก้านกล้วย : คือสุดท้ายไม่ได้ไปเตรียมค่าย เพราะไอ้ต้นบอกว่าเต็ม และก็ไปพร้อมสมาชิก
คิ้ม : ก็ได้กลิ่นตุๆ อีก คือไม่เต็มใจจะต้อนรับ ณ คืนนั้น ก็เอาวะ ไหนๆ แม่งก็ตั้งใจแล้ว แล้วก็ค่ายสุดท้ายเพราะตอนนั้นจบแล้วด้วย ให้เต็มที่กับมันละกัน และบอกกับตัวเองว่ากูไม่กลับก่อนแน่จนกว่าจะจบค่าย และจะทำให้ดีที่สุดเท่าที่ตัวเองทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครต้อนรับ อันนี้คือสัญญากับตัวเองไว้เลย และในที่สุดก็ไม่รู้มาสนิทกันได้ไงในค่ายนั้น
ม้าก้านกล้วย : นั้นคือคำสัญญาให้กับตัวเองในคืนแรกที่บ้านพักน้ำตก หลังจากนั้นผ่านไปในค่ายพิษณุโลก…เป็นไง
คิ้ม : เราก็คิดว่าเราก็เป็นเหมือนเดิมนะ ทำในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสม เพียงแต่ว่านิ่งขึ้น พูดเท่าเดิมนะ แสดงออกอะไรเหมือนเดิม แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรที่เป็นสัญญาณบ่งบอก ถึงการเปิดใจของแต่ละคน อันนี้ไม่รู้
ม้าก้านกล้วย : เริ่มรู้สึกว่าตัวเองได้รับช่วงไหนในค่ายที่พิษณุโลก เข้าใจว่าบรรยากาศ…ไอ้กลิ่นตุเรารู้สึกมันยังอยู่ อะไรคือจุดหักเหที่เปลี่ยนไป เริ่มหมดไป
คิ้ม : มันมีครึ่งต่อครึ่งเลยที่คนเก่าหายไป และมีคนใหม่เข้ามาแทนที่ มันก็เลยทำให้ความรู้สึกที่อคติลดน้อยลงไปเยอะ
ม้าก้านกล้วย : คือคนเก่า ณ ค่ายกำแพงเพชรหายไปจำนวนหนึ่ง ก็เลยรู้สึกว่า บรรยากาศโดยรวม มันน้อยลง ความรู้สึกตรงนั้นน้อยลงไป
คิ้ม : บ้าง…. มีอยู่วันนึงมันเล่นยาม่วงกันที่ไม่ใช่ตอนกลางคืน ไอ้เราโดนอยู่คนเดียว จำได้ตอนนั้นเป็น ไอ้จิ๋ว (ประธานค่ายคนที่ 3) จะป้ายคืนบ้าง ไอ้มล(หน.ฝ่ายสวัสดิการในตอนนั้น) ก็แสดงความเป็นฮีโร่ ด้วยการปกป้องไอ้จิ๋ว และก็ทำหน้าไม่พอใจ “อะไรวะ กูโดนอยู่คนเดียว กูจะเอาคืน กลับมีอคติ” อะไรอย่างนี้ “งั้นก็ไม่เล่นละกัน อยากทำอะไรกู มึงก็ทำไปเลย” รู้สึกจะเป็นผู้หญิงเกือบทั้งหมดที่มีอคติในค่ายกำแพงเพชร มาพูดคืนสุดท้ายบอกว่า “เนี้ยจริงๆ พี่เป็นคนดีและน่ารักมาก ทำไม่พี่ไม่เป็นแบบนี้ตั้งแต่ค่ายกำแพงเพชร” มันเป็นประโยคที่เราฟังแล้วรู้สึก….สงสารตัวเองมั้ง เรากลับมาถามตัวเราเองว่า “ค่ายพิษณุโลกกับกำแพงเพชร ต่างกันตรงไหน” เราก็รู้สึกว่าจุดยืนเราไม่เปลี่ยนนะเหมือนเดิม สิ่งที่เราแสดงออก ที่เราทำ กับการที่เราเข้าไปใกล้ชิดตัวบุคคลน้อยลง ต่างกันแค่นี้ คือทำงานให้มากขึ้น วุ่นวายกับคนให้น้อยลง เออ…อย่างนี้ได้รับการยอมรับ
ม้าก้านกล้วย : แล้วคำถามต่อไป เท่าที่ได้สัมผัสค่ายกำแพงเพชร มาถึง พิษณุโลก มองว่า รูปแบบการทำงานของชมรมค่ายฯ หรือของคนทำค่าย ของคนกลุ่มนี้ เปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างรึเปล่าจากกำแพงเพชร ที่เรารู้สึกเหมือนกับเพิ่งเริ่มต้น คล้ายๆ กับลองผิดลองถูกอะไรอย่างนี้ พอมาเห็นอีกที่ตอนที่พิษณุโลก ลักษณะการทำงานมีอะไรเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง
คิ้ม : เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่เหมือนกับว่ามันก็ยังเป็นอะไรที่ลองผิดลองถูก มันเหมือนเราก็ยังไม่ได้คำตอบว่าสิ่งที่มันควรจะเป็น… ค่ายของเราคืออะไร แล้วอย่างถามว่าการแบ่งฝ่ายในค่าย ตัวรูปแบบอะไร ทั้งหมดนี่ มันก็เป็นการดึงเอา…จากที่ค่ายหอการค้ามาใช้ และก็เอาโน้นมาผสมนี่ ลองไปลองมา ถ้าจะให้ได้คำตอบจริงๆแล้ว รู้สึกว่า ค่ายที่ 5 ถึงจะรู้สึกว่า เออ… ค่ายนี้น่าจะเหมาะกับเรา
ม้าก้านกล้วย : ค่ายที่ 5 เออ… มุกดาหาร (1)
คิ้ม : ถึงแม้มุกดาหารคนจะไม่มี แต่มันเหมือนกับว่ากลุ่มคนที่อยู่ตรงนั้น เริ่มมีความเข้าใจในสิ่งที่ทำ ในสิ่งที่เป็น ถามว่าก่อนหน้านั้นใช้คำว่า ได้แต่งาน ได้แต่งานจริงๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ก็คือ ไอ้จิ๋ว
ม้าก้านกล้วย : อืมมม….วัดจากตัวมัน ตัวของไอ้จิ๋ว
คิ้ม : อือ… มันเหมือนกับ ไอ้จิ๋ว มันเป็นประธานคนที่ 3 ซึ่งในรุ่นของมันได้ก่อตั้งเป็นชมรม เพราะฉะนั้นแล้วจากจุดที่เป็นกลุ่มจนกระทั้งเป็นชมรมมันจะต้องได้คำตอบแล้วว่า แก่นแท้ของค่ายหรือว่าความเป็นเอกลักษณ์ของค่ายอาสาฯ เอแบค จะต้องเป็นอย่างไร ภาพจะออกมาชัดเจน แต่คือตัวมันเอง…มันก็ยังไม่รู้ว่า สิ่งที่พวกพี่ต่อสู้กันมา แล้วดำเนินกันมาจนกระทั้งถึงรุ่นมัน จนกระทั้งสามารถที่จะยืนผงาดขึ้นมาเป็นชมรมได้ในมหาลัยได้ แก่นของมันคืออะไร แม้กระทั้งตัวพวกเรายังตอบไม่ได้ แบบภาษาสละสลวย แบบฟันธงเลยว่า…. ถ้ามีคนถามเรียงตัวเลยโดยไปอยู่ในห้องสัมภาษณ์ทีละคน แล้วทุกคนตอบความเป็นแก่น หรือความเป็นเอกลักษณ์ของค่ายเราได้เหมือนกัน คือเหมือนกับว่าต่างคนต่างลองผิดลองถูก แล้วเรียนรู้กันไป ว่าเออ จริงๆ แล้วเนี้ย ค่ายกูควรจะเป็นอย่างงี้ๆ นะ แต่นั้นคือในความรู้สึกของแต่ละคนไง แต่ในความรู้สึกตอนนั้นมันเกิดจากการลองผิดลองถูก เรียนรู้และได้คุยกันบ่อย คือในสมัยนั้นคุยกันแทบจะทุกเย็น คุยกันไป คุยกันมา จนกระทั่งเราได้คำตอบแล้วว่า อันนี้แหละคือค่ายเรา คือผ่านการยอมรับจากการที่ลงไปทำกันจริงๆ แล้วก็ได้กลับมาคุยกัน และทุกคนก็เห็นพ้องต้องกันว่า “เออ นี่แหละค่ายเรา” อย่างถามว่าในช่วงแรกๆ การที่เราไปค่ายแล้วมีการแบ่งฝ่าย ให้คนลงไปในฝ่าย ให้เป็นคนที่ทำค่ายตอนนั้น ก็ยังไม่รู้หรอกว่าโดยลึกๆ แล้ว สิ่งที่คนลงไปทำตรงนั้นเขาจะได้อะไรจากสิ่งที่เขาไปทำ แต่ถ้าเป็นค่ายของที่อื่นอย่างนี้ คือ เขาจะแบ่ง จะกำหนดเลยนะว่า ในฐานะคนทำค่าย สิ่งที่จะได้เรียนรู้ไปคืออะไร ในฐานะของคนที่เป็นสมาชิกแล้วลงมาร่วมกิจกรรม สิ่งที่เขาได้ไปตรงนั้นคืออะไร
ม้าก้านกล้วย : เหมือนกับว่า มันจะเริ่มจับระยะทางได้ในระยะ ค่ายที่ 5 – ปีกว่าๆ
คิ้ม : อืม…
ม้าก้านกล้วย : ย้อนกลับมา ค่ายพิษณุโลก ซึ่งพอกลับมาเนี้ย จากที่วันสุดท้ายที่ได้คุยกันกับกลุ่มที่ดูเหมือนป็นโจทย์กับเราอยู่ ดูเหมือนความสัมพันธ์คลี่คลาย ที่เคยไม่พอใจกันมันก็หมดไป
คิ้ม : อันนี้ไม่รู้ว่าหมดรึเปล่า..(หัวเราะ)
ม้าก้านกล้วย : แต่เข้าใจจากตรงนั้น คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรกันแล้ว
คิ้ม : ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรเลย และก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะกลับมาช่วยอะไรด้วย เพราะเหมือนกับเราก็บอกกับตัวเราเองแล้วว่า พอจบปุ๊บเราก็คงจะทำงาน แล้วค่ายนั้นที่ไปก็ตั้งใจแล้วว่าไปแก้ตัวเอง แก้ไขตัวเอง แต่ไม่ถึงขนาดว่าไปเพื่อให้คนยอมรับ เปิดใจยอมรับเรา และก็กลับมาเป็นเพื่อนกันอะไรอย่างนี้ ไม่คิดถึงขนาดนั้น แค่คิดว่า…เราล้มเหลวกับตัวเราเอง เราก็อยากไปแก้ไขในสิ่งที่เราทำผิดพลาดไป ก็ไม่ได้คำตอบเหมือนกันว่า อะไรที่ดึงเราไว้อยู่ แล้วกลับมาแล้วยังพูดคุยยังไปร่วมกิจกรรม ยังไป Survey ก็ยังมานั่งพูดคุยกัน ไม่รู้เหมือนกัน
ม้าก้านกล้วย : แต่เข้าใจจากตรงนั้น คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรกันแล้ว
คิ้ม : ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรเลย และก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะกลับมาช่วยอะไรด้วย เพราะเหมือนกับเราก็บอกกับตัวเราเองแล้วว่า พอจบปุ๊บเราก็คงจะทำงาน แล้วค่ายนั้นที่ไปก็ตั้งใจแล้วว่าไปแก้ตัวเอง แก้ไขตัวเอง แต่ไม่ถึงขนาดว่าไปเพื่อให้คนยอมรับ เปิดใจยอมรับเรา และก็กลับมาเป็นเพื่อนกันอะไรอย่างนี้ ไม่คิดถึงขนาดนั้น แค่คิดว่า…เราล้มเหลวกับตัวเราเอง เราก็อยากไปแก้ไขในสิ่งที่เราทำผิดพลาดไป ก็ไม่ได้คำตอบเหมือนกันว่า อะไรที่ดึงเราไว้อยู่ แล้วกลับมาแล้วยังพูดคุยยังไปร่วมกิจกรรม ยังไป Survey ก็ยังมานั่งพูดคุยกัน ไม่รู้เหมือนกัน
ม้าก้านกล้วย : เมื่อกลับมาจากพิษณุโลก ตามสภาพนักศึกษาก็คือเรียนจบแล้ว ตอนนั้นก็ยังจำได้ว่ายังล่องลอยอยู่แถวๆ เอแบค มีกิจกรรมอะไรของชมรมก็จะเข้ามามีส่วนร่วม
คิ้ม : เออ… เหมือนช่วงนั้นรองานอยู่มั้ง สมัครงานอยู่
ม้าก้านกล้วย : แต่ยังไม่ได้งานก็เลยยังอยู่ จำได้ว่ามาอยู่แถวเอแบค
คิ้ม : SWD (ชื่อหอพักแห่งหนึ่ง)
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ช่วงนี้แหละ เป็นช่วงที่สนิทกับค่ายเอแบคที่สุด
คิ้ม : อือๆ ไม่รู้เหมือนกัน จำไม่ได้ด้วยว่ามีใครเรียกออกมารึเปล่า หรือเราอออกมาเอง แต่ตอนนั้นสนิทกับไอ้ช้างกับไอ้ต้น เป็น 2 คนแรกที่สนิทหลังจากกลับมา ยังเลยงงๆ อยู่เหมือนกัน กลับมาก็มีรู้สึกมีไปเที่ยวอะไรเนี้ย ตอนนั้นไอ้นกก็ไม่สบาย จำได้ว่ามันไปนอนโรง’บาล จำได้ๆ และก็วันนั้นไปเยี่ยมมันแล้วเป็นวันที่มันออกจากโรงพยาบาล แล้วก็ไปเที่ยวเดอะมอลล์บางกะปิ ไม่รู้ใครชวนด้วยและไม่รู้ไปได้ไง จำไม่ได้ (หัวเราะ)
ม้าก้านกล้วย : กลับมาก็ยังมาสุงสิงอยู่กับชมรมค่าย
คิ้ม : อืม…ไม่รู้คิดถูกหรือคิดผิด
ม้าก้านกล้วย : แล้ว หลังจากนั้นสุดท้ายนี่ก็ตัดสินใจไปเป็นอาจารย์สอนพิเศษ
คิ้ม : อ้าา… ใช่ พอดีไอ้ช้างมันไปสอน มันไปเป็นติวเตอร์ของไอ้เอก (เพื่อนที่คณะวิทย์) เอ่อ… วันนั้นก็เดินขึ้นไปหาไอ้เอก และเอกก็ถามไงว่า เนี้ยสอนอะไรได้รึเปล่า ตอนนั้นเพิ่งจบไง ก็ได้วิชา MD (Marketing Decision Making) ก็น่าจะสอน MD ได้ เขาก็เลยถามว่า “จะลองสอนดูไหม” ซึ่งเราก็ไม่มั่นใจว่าทำได้รึเปล่า เขาบอกลองดูก็ได้ ก็เลยลองสอนดู
ม้าก้านกล้วย : ไปสอนอยู่นานไหม…
คิ้ม : นาน
ม้าก้านกล้วย : รู้สึกสอนอยู่ 2-3 เซ็นเตอร์เลยนี่
คิ้ม : ตอนแรกสอนที่เดียว และก็ปีต่อมาถึงจะสอน2 ที่ และถึงจะออกมาเช่าห้องเอง
ม้าก้านกล้วย : ทั้งหมดเลยเนี้ย สอนอยู่กี่ปี วิชาเนี้ย MD
คิ้ม : 3-4 ปี
ม้าก้านกล้วย : โห… นานมาก ตอนนั้นคือพอสอนแล้วก็เลยเปลี่ยนใจไม่หางานประจำทำ
คิ้ม : มันมีจุดเปลี่ยนแปลง ก็คือไม่ได้คิดจะสอนยาวอะไรขนาดนั้น ก็กะว่าสอนแค่เทอมสองเทอม พอได้งานแล้ว เราก็จะไปทำงานประจำ บังเอิญๆ จับผลัดจับผลู จะเป็นความหวังดีหรือความซวยก็ไม่รู้ ที่มี…. ก็คือตอนนั้นได้จิ๋วมาเป็นแฟน
ม้าก้านกล้วย : จิ๋ว คนเดียวกันกับที่เกิดเหตุกับเราในค่ายฯ ที่เล่าผ่านมานะ แล้วจิ๋วเป็นเหตุผลอะไรที่เกี่ยวข้องอะไรกับการตัดสินใจเป็นติวเตอร์อยู่ หลังจากที่คิดว่าจะทำเป็นชั่วคราว
คิ้ม : ก็อารมณ์ประมาณว่าคนเป็นแฟนกันก็ต้องการอยากได้การ take care ดูแล ถ้าสมมุติว่าเราออกไปทำงานแล้วเนี้ย เราก็มองเราก็คงไม่มีเวลาและมีโอกาสได้ดูดูแล และตัวมันก็เป็นคนที่ต้องการ การเอาใจใส่ ที่นี้ก็มองว่า ถ้าเราสอนตรงนี้ เราสามารถที่จะมีรายได้ด้วย และดูแลมันได้ด้วย….มันลงตัวไหม ก็เลยลองดู ก็ปรากฏว่าลงตัว จริงๆ แล้วตัวเขาเองก็เหลือเวลาแค่ 2 เทอมมั้ง ก็เลยคิดว่าเป็นติวเตอร์ซักสองเทอม – ต่อไปอีกปีหนึ่ง แล้วพอเขาเรียนจบ ถึงตอนนั้นแล้วเราค่อยออกไปสมัครงานก็ยังไม่สาย
ม้าก้านกล้วย : ok ก่อนที่จะไปสู่รายละเอียดเรื่องนั้น จากที่สัมผัสได้เป็นติวเตอร์เกือบประมาณ 4 ปี คิดว่าอะไรทำให้นักศึกษาเอแบค ต้องมาเรียนกับติวเตอร์ทั้งๆ ที่เสียค่าหน่วยกิจเรียนกับอาจารย์ในมหาลัยไปแล้ว
คิ้ม : เคยนั่งวิเคราะห์เหมือนกัน จากที่มีโอกาสได้สอนและได้คุยกับเด็ก มันมีเด็กสองส่วน คือเด็กที่เรียนไม่รู้เรื่องจริงๆ ตั้งใจแล้ว เรียนในคลาสแล้ว ไม่ได้อะไรจากในคลาสเลย คืออาจเป็นความบกพร่องของผู้สอน ที่ไม่สามารถสื่อให้เด็กเข้าใจได้ก็เลยต้องหาที่เรียนพิเศษ กับอีกส่วนหนึ่งคือ…มันขี้เกียจเข้าเรียนอ่ะ และมันก็จะก็มารอติวและก็เข้าไปสอบ เพราะฉะนั้นจะเหมารวมว่าเด็กที่เรียนมาเรียนเพราะว่าเรียนไม่รู่เรื่องอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมันมีทั้งสองส่วน
ม้าก้านกล้วย : …นี้คือประเมินจากที่ได้สัมผัส
คิ้ม : อือ..
ม้าก้านกล้วย : กลับมาเรื่องของจิ๋ว อะไรทำให้จุดเปลี่ยนแปลงจาก… เท่าที่ทราบคือว่าในตอนค่ายกำแพงเพชร จิ๋วเนี้ยคือโต้โผเลยในการ เป็นหัวโจกในการเกลียดเลย แล้วอะไรที่เปลี่ยนสถานภาพจากตรงนั้น มาเป็นแฟนกันได้ในที่สุด
คิ้ม : อืมมมม…. อันนี้คงต้องถามเจ้าตัวนะ (หัวเราะ)
นกเสรี : คงจะเหมือนในหนัง ‘พระเอก’ กับ ‘นางเอก’ เกลียดกัน ก็เลยแบบ…มาชอบกันตอนจบ
คิ้ม : (หัวเราะ) อ้าา… อะไรประมาณนั้น ถ้าจะเอาคำตอบนะ
ม้าก้านกล้วย : คบกันนานอยู่พอสมควร
คิ้ม : นาน 3-4 ปี
ม้าก้านกล้วย : แล้วคบกันมานาน 3- 4 แล้วมันมาถึงจุดสิ้นสุดยังไง
คิ้ม : อือมมม…. เป็นช่วงที่เขาเรียนจบแหละ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างคน 2 คน คือส่วนตัวพี่เองก็กำลังแพลนว่าเอาไงกับชีวิตดี เพราะตอนนั้นพ่อกลับลงไปอยู่ใต้ ส่วนตัวเขาเนี้ยเรียนจบ แต่ว่ายังมองไม่เห็นอนาคตว่าตัวเองจะทำอะไร และด้วยความที่บุคลิกที่เขาเป็นเนี้ย คือเขาไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ นั้นคือเป็นปัญหากับตัวเขา แล้วเขาก็มองตัวเองไม่ออกว่าเขาจะเอายังไงกับชีวิตตัวเองต่อ มันเหมือนกับเขาก็ต้องการที่พึ่งและกำลังใจ และก็ต้องการคนที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาและมันปรับคลื่นจูนกันไม่ตรง คือยิ่งคุยกัน ยิ่งทะเลาะ ต่างคนต่าง present ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่ไม่ได้รับฟังอีกคนเลยว่าอีกคนหนึ่งคิดและรู้สึกยังไง คือเหมือนกับต่างคนต่างเรียกร้อง เรียกร้องกันไปเรียกร้องกันมา…ก็เลยทะเลาะ ทะเลาะเสร็จเข้ากันไม่ได้….ก็เลิก ถ้าถามเสียใจไหม ก็เสียใจ แต่มันก็ช่วยอะไรไม่ได้ ..โอ้..ชีวิต…เศร้า.. (หัวเราะ)
ม้าก้านกล้วย : โอเค แล้วหลังจากที่เลิกไปเป็นติวเตอร์ ก็ชีวิตเปลี่ยนแปลงยังไง ออกจากเอแบคกลับไปอยู่บ้านแล้วดำรงชีวิตด้วยการทำงานอะไร
คิ้ม : เทอมสุดท้ายที่เป็นติวเตอร์เนี้ย เป็นช่วงจังหวะเปลี่ยนแปลงก็คือว่า อาจารย์สาคร (อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมค่ายฯ) มาทาบทาม ถามว่า ‘สนใจไหมจะมาเป็นอาจารย์ที่ศูนย์กิจกรรม’ เขาก็ให้ไปทำการบ้านมา ก็จะมีนัดสัมภาษณ์ นัดคุยกันอะไรอย่างนี้ ก็ไปสัมภาษณ์ ในวันเดียวกันเลย มีรุ่นพี่ที่ ACC ก็คือพี่เก่งกำลังจะโทรไปปรึกษาพอดีเลยว่า มีอาจารย์เขาทาบทามมาให้มาเป็นอาจารย์ที่เอแบคอะไรอย่างนี้ ซึ่งตอนนั้นอยากหางานประจำทำ อยากหางานที่มันค่อนข้างมั่นคง ก็พอดีเขาก็บอกว่าเนี้ย ‘มีงานสนใจไหม’ ก็เรียกไปสัมภาษณ์ เพราะฉะนั้นวันเดียวกันวันนั้นเลยได้สัมภาษณ์งาน 2 ที่
ม้าก้านกล้วย : สัมภาษณ์งานของพี่เก่ง สัมภาษณ์งานอะไร
คิ้ม : เป็นงานธุรกิจฟิว Forwarder
ม้าก้านกล้วย : Shipping
คิ้ม : Shipiing อะไรทำนองนั้น ก็ไปสัมภาษณ์ เขาก็รับเลย ด้วยความอึ้งเหมือนกัน ก็เลยเริ่มงานเลย และเทอมนั้นเป็นเทอมสุดท้ายที่สอนและก็เข้าสู่วงจรธุรกิจ ส่วนที่เอแบคก็บอกอาจารย์สาครไปว่าได้งานแล้ว
ม้าก้านกล้วย : คือสัมภาษณ์ทั้งสองที่ เขารับทั้งสองที่….
คิ้ม : ไม่ ของอาจารย์สาคร เพิ่งคุยจบรอบแรกไป ยังไม่ได้คุยรอบสอง
ม้าก้านกล้วย : อ้อ ได้งานก่อน
คิ้ม : พอคุยรอบสอง เขาเอาอาจารย์มานั่งเรียง และก็ซักฟอก ซักฟอกเลยอะ รอบแรกคุยกันเล่นๆ จากนั้นก็อยู่ในฟิวธุรกิจ จนกระทั่ง 3 เดือนผ่านไป เราก็ได้คำตอบว่างานนี้ไม่เหมาะกับเรา มันเป็นวงจรที่มีการแข่งขันสูง และก็เป็นธุรกิจที่เชือดเฉือนกันสุดฤทธิ์ คือเพื่อผลประโยชน์เพื่อลูกค้าเนี้ย บริษัททุกบริษัททำทุกวิธีทาง แม้กระทั่งแทงข้างหลังกันเอง หรือแม้กระทั่งในการดึงเซลล์ของบริษัทหนึ่งเนี้ยมาทำงานของตัวเอง…อะไรอย่างเนีย
ม้าก้านกล้วย : ซื้อตัวกัน
คิ้ม : ซื้อตัวกันเห็นๆ ส่วนหน้างานของเราเนี้ย มีหน้าที่หลอกลูกค้าไปวันๆ เพราะงานที่พี่ทำเนี้ยเป็นการเช็ค Shipment ให้กับลูกค้า อย่างสมมุติว่าลูกค้าจากเมืองไทยกระจายไปยังทั่วโลกเลย คือขนส่งทางเรือ เรามีหน้าที่ตาม Shipment ว่าถึงหรือยัง ถ้าอันไหนไม่ถึงมีปัญหาเพราะอะไร คือของบางอย่างถ้าสินค้าไปไม่เต็มตู้…ไปก็ขาดทุน เพราะฉะนั้นเขาต้อง Hold ของไว้เพื่อรอ 2-3 Weeks แล้วค่อยไปกันทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องไปโกหกลูกค้าว่าของไปแล้ว แต่เรืออาจจะมีปัญหาระหว่างทาง
อรรณพ นิพิทเมธาวี : โกหกพูดง่ายๆ
คิ้ม : สรุปคือมีหน้าที่หลอกลูกค้า มันก็ไม่ Happy ยิ่งทำแล้วมีความรู้สึกว่า โอ้โห..อะไรเนี้ย คือนึกออกไหมว่า ไอ้คนที่ถามเรามันก็รู้คำตอบ เพราะว่ามันก็ทำธุรกิจฟิวเดียวกัน ก็คือเหมือนกับเขาเป็น Sub อีกทีอ่ะ บอกได้เลยว่าบริษัทพวก Fed-Forwarder เปิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลาง Fed-Forwarder ไม่ต้องมีอะไรเป็นของตัวเอง มีเงินแค่ ซื้อออฟฟิตและจ้างคน คนที่แบกรับความเสี่ยงก็คือ บริษัทเรือกับผู้ส่งออก พูดง่ายๆ Fed-Forwarder เป็นเสือนอนกิน มีหน้าที่หาคนส่งออกไปให้สายเรือ แล้วเขาก็จะ Link กันเอง เรามีหน้าที่เป็นคนกลาง เพราะฉะนั้นคนกลางเนี้ยจะเยอะมาก แล้วไอ้คนกลางเนี้ยมันก็จะตาม Shipment หรือตาม Order จากเราอีกทีหนึ่ง ซึ่งมันก็ พูดง่ายๆ มันก็ไปหลอกลูกค้าอีกที เพราะบางทีแล้วผู้นำเข้าในต่างประเทศเนี้ย โทรมาหาผู้ส่งออกว่า “เฮ้ย..ของคุณบอกว่าส่งมาแล้ว แต่ยังไม่ถึง” ผู้ส่งออกก็จะไล่เบี้ยไปเรื่อยๆ มันก็โกหกเป็นทอดๆ ไปอีก ในขณะที่บริษัทที่ทำธุรกิจฟิวเดียวกันโทรมาถามเรา มันก็รู้คำตอบอยู่แล้วว่าเรา Hold ของ เราก็ตอบมันไป มันก็ไปตอบลูกค้าอีกทีหนึ่ง เราก็เลยรู้สึก เราเริ่มไม่ Happy กับการที่เราต้องมานั่งโกหกคนทุกวัน ก็เลยตัดสินใจว่า…ไม่เอาแล้วไม่ทำ ก็เลยออก
ม้าก้านกล้วย : ทำได้นานแค่ไหน
คิ้ม : 3 เดือน เป็นอะไรที่เรียนรู้ได้เยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน กูอยู่ให้ครบปี นี่กูตายแน่ๆ กูออกดีกว่า
ม้าก้านกล้วย : อึดอัด…ที่ต้องทำอะไรอย่างนั้น…
คิ้ม : คือเซลล์ก็ขายไป แต่ปัญหาอีกอันหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจออกด้วยเนี้ย ลูกค้าจับได้ว่าเราโกหก แต่ถามว่าใครซวย เขาไม่ไปด่าเซลล์หรอก เขาด่าคนตามชิปเม็นท์ก็คือเรา วันๆ หนึ่งไม่ต้องทำอะไร รับโทรศัพท์และก็รับคำด่า ใหม่ๆ ก็รู้สึก เอ้อ…การแก้ไขปัญหาให้ลูกค้ามันเป็นเรื่องสนุก แต่พอไปๆ แล้ว ปัญหามันเหมือนเดิมนะ คือมันเป็นปัญหาที่เราไม่ได้เป็นคนก่อเว้ย แต่เซลล์เป็นคนก่อ แล้วทำไหมกูจะต้องมาเป็นคนรองรับอารมณ์ ในขณะที่ปัญหานั้นกูไม่ได้เป็นคนก่อเลย กลายเป็นกระโถนเลย รับขึ้นมา….หืออ….หูไหม้ 3 เดือนคือได้ความอดทนในการรองรับอารมณ์คน มันก็เลยทำให้เรารู้สึกใจเย็นแบบ มึงก็ด่าๆๆๆ มาซิ อะไรอย่างนี้ และก็ที่สำคัญที่ได้ฝึกอีกอย่างคือ การไม่รับ เขาเรียกอะไรอะ…เหมือนบางครั้งลูกค้าโยนความผิดมาให้เรา วิธีการหลีกเลี่ยงในการที่จะปฏิเสธความผิดตรงนั้น แต่โดยปกติถ้า Case ไหนเป็นความผิดพลาดของบริษัทของพี่เองเนี้ย พี่แบ่งรับแบ่งสู้นะ และจะบอกผู้จัดการอีกทีหนึ่งว่า Case นี้คือเราผิด และถามเขาเลยว่าจะรับไหม ถ้ารับ เราก็จะบอกตกลงรับ ถ้าไม่รับก็คือจะให้ผู้ใหญ่เค้าคุยกันเอง ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ทุก Case เลย เวลาที่มีค่า Storage หรือของไม่ถึง หรือเกิดความเสียหาย โยนมา โยนกันมาเป็นทอดๆ เพื่อหาคนรับผิด และถ้าเจ้าหน้าที่ของบริษัทคนไหนที่อ่อนด้อยในเรื่องของการตอบ ก็จะเหมือนกับเขาขุดหลุมไว้เพื่อให้คุณมาตก แล้วให้คุณรับผิดชอบและผูกมัดคุณด้วยคำพูด อะไรอย่างนี้ มันเป็นอะไรที่เราต้องเรียนรู้และต้องมีไหวพริบและก็ต้องฉลาดพอที่จะรู้วิธีจัดการกับปัญหาเหล่านั้น
ม้าก้านกล้วย : แล้วหลังจากออกจาก Shipping แล้วไปทำอะไร
คิ้ม : ออกจากชิปปิ้งแล้วก็ว่างงานเกือบ 2 เดือน ก็ช่วงนั้นได้กลับมาสนิทกับรุ่นพี่ที่ ACC อีกครั้ง เขาก็ชวนไปช่วยน้องทำค่าย ก็กลับมาดูแลค่ายที่ ACC อีกครั้ง แล้วช่วงนั้นพี่เก่งเขาทำงานประกันของ AIA ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่คิดว่า ไม่มีความคิดอยู่ในหัวเลยว่าจะทำ เผอิญ….จุดเปลี่ยนแปลงของชีวิตอีกแล้ว คือน้องตัวเอง มีคนมาทาบทามไว้เป็น บริษัท ALC ของเครือเกษตรรุ่งเรือง มาให้เป็นตัวแทน น้องก็เลยมาปรึกษา ก็เลยแนะนำเขาว่าถ้าสนใจงานประกันจริงๆ ลองคุยกับรุ่นพี่คนนี้ดูไหม ก็เลยพาเขาเข้าไป ไอ้ครั้นจะให้เขาเข้าไปคนเดียวก็ด้วยความเป็นห่วง ก็เลยเข้าไปนั่งฟังด้วย ฟังไปฟังมาก็เลย….อ่ะก็ลองดูละกัน ก็เลยได้มีโอกาศเขามาในฟิวนี้ ด้วยความไม่ได้ตั้งใจ แล้วหลายคนก็บอกว่าเราทำได้ ในขณะที่เราก็ยังไม่ได้คำตอบว่าเราอยากจะทำอะไร ก็ลองทำดูก่อนละกัน มันก็เลยจับพลัดจับผลู ได้ทำตรงนี้แล้วมันทำให้เรามีเวลาว่างพอที่จะกลับมาช่วยค่ายที่ ACC …..มันลงตัวพอดี
ม้าก้านกล้วย : เท่าที่จำได้ก็คือว่า โดยส่วนตัวพี่ก่อนที่เข้ามาทำ พี่ก็มีความรู้สึกที่ไม่ดีกับการขายประกัน แล้วอะไรทำให้เราเปลี่ยนใจเข้ามาทำ
คิ้ม : คือ ที่มีความรู้สึกไม่ดี ไม่ใช่มองว่าการทำประกันเป็นสิ่งไม่ดี แต่มองว่า คือไม่เห็นด้วยกับวิธีการจูงใจของบริษัทที่มีต่อลูกค้า ที่มีต่อตัวแทนอะไรอย่างงี้ ไม่ชอบระบบตรงนั้นมากกว่า แต่…มันเหมือนบางครั้ง เราทำในสิ่งที่ตัวเองก็ไม่ได้ตั้งใจอยากจะทำ มันก็มีบ่อยครั้งไป และครั้งนี้ก็เป็นครั้งหนึ่งที่อะไรๆ มันมาลงตัวให้เราก้าวไปสู่ตรงนั้นเองด้วยความไม่ตั้งใจและไม่ได้อยากทำ พอทำไปแล้วมันก็เลยกลายเป็นเหมือนเงื่อนไขผูกมัด ก็เลยต้องทำต่อไปเรื่อยๆ
ม้าก้านกล้วย : ช่วยขยายคำว่า สิ่งที่บอกว่า “ไม่ชอบวิธีการที่บริษัทใช้ในการจูงใจ ให้คนหรือตัวแทนขายประกัน” หน่อย…
คิ้ม : อันดับแรกที่ไม่ชอบเนี้ย คือการกระตุ้นคนให้ทำงานด้วยความรู้สึกว่า (คิด) คือให้คนใส่หน้ากาก ให้คนมองไปในเรื่องของการประสบความสำเร็จ การได้มีหน้าตา การเป็นที่ยอมรับของสังคม การที่มีผลงานส่ง มีถ้วยรางวัล มีเกียรติยศ มีความภาคภูมิใจ…อะไรตรงนั้น อือมม..มันเหมือนกับทำให้คนทำงานเพื่อความรู้สึกว่า….ฉันต้องอยู่เหนือคนอื่น แล้วกระแสตรงนี้มันเป็นอะไรที่แรงมากใน AIA มันอยู่ที่เราถ้าเรามองในแง่บวก เราก็จะรู้สึกว่า มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไร แต่เผอิญๆ มันไม่ใช่ตัวเรา เราก็เลยมีความรู้สึกว่าเราไม่ชอบแบบนี้ ยิ่งมา Force เรา เราก็จะยิ่งมีอคติ นี่คือสิ่งที่ไม่ชอบ
ม้าก้านกล้วย : แล้วในเมื่อเราเข้าไปอยู่ตรงนั้นแล้ว เรามีวิธีการควบคุมตัวเองยังไงไม่ให้ไหลตามมัน ทั้งที่เราทราบอยู่แล้วว่าแรงผลักดันมันเยอะมาก
คิ้ม : ทำยังไงเหรอ? มันก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะตราบเท่าที่เราเข้าฟังวิชาการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการที่เราจะเตรียมตัวออกไปพบลูกค้า ออกไปขาย เราก็จำเป็นต้องเข้า พอเข้าไปแล้ว เราก็จะเจอเรื่องอย่างนี้ ซึ่งก็อึดอัด แล้วทางออกที่ดีที่สุดก็คือ พี่ที่หน่วยหรือหัวหน้าหน่วย เขาก็จะให้เรามองในอีกมุมมองหนึ่งหรือให้คิดในอีกด้านหนึ่ง คือส่วนใหญ่จะเป็นการพูดคุยเพื่อระบายความรู้สึก และทำให้เราทำงานต่อได้มากกว่า แต่ถามว่ามีวิธีการอะไรไหม…ไม่มี เพราะมันเลี่ยงไม่ได้
ม้าก้านกล้วย : ok แต่ว่าในช่วงที่กลับมาก็ยังด้วยเหตุการทำงานอย่างนี้ก็เลยสามารถเข้าคลุกคลีกับค่าย ACC ได้ระยะหนึ่ง ซึ่งก็คือเป็นสิ่งที่เราคุยกันแล้ว ที่เกิดการเปรียบเทียบระหว่างยุคที่เราเป็นนักเรียน กับยุคที่เราเป็นรุ่นพี่เข้าไปแล้ว ที่นี่กับตัวพี่คิ้มเอง จะได้กลับมาสัมผัส ชมรมค่ายเอแบคจริงๆ ก็คือค่ายที่เพิ่งผ่านมา
คิ้ม : ใช่ หลังจากหายไป 5 ปี
ม้าก้านกล้วย : 5 ปี… ตอนที่กลับมา… กลับมาด้วย ที่มาออกค่ายที่นี่อีกครั้งเนี้ย มาด้วยวัตถุประสงค์ส่วนตัว มีอะไรตั้งไว้ไหม
อรรณพ นิพิทเมธาวี : พูดง่ายๆ ว่า “มาทำไม?”
คิ้ม : มาทำไม คำตอบง่ายที่สุดก็คือ สั่งลา เพราะว่าค่ายที่ผ่านมาที่ ACC ก็สั่งลาไปเรียบร้อยแล้ว ก็คือมีความตั้งใจในชีวิตตัวเองว่า “กรุงเทพเนี้ย คงไม่เหมาะกับเรา” ก็เลยคิดว่าอยากผันตัวเอง กลับไปใช้ชีวิตที่เป็นชนบท คือพ่อมีบ้านอยู่ที่ใต้และเขาเกิดที่ใต้ และคือตอนนี้เขาได้มรดกสวนยางและก็กลับไปดูแล และเราก็คิดว่าเกษตรจะเหมาะกับเราไหม ชนบทจะเหมาะกับเราไหม แต่ที่แน่ก็คือ การทำงานในกรุงเทพฯ เนี้ยไม่ใช่ตัวเราแล้ว เหมือนกับที่ผ่านมาเราได้ลองทำอะไรหลายอย่าง ตลอดระยะเวลา 31 ปี แห่งความน่าเชื่อถือ ปรากฏว่าเราไม่เจอตัวเราเองเลย ก็เลยคิดว่าลองเปลี่ยนตัวเองดูละกัน อันนั้นคือเหตุผลหลัก ส่วนเหตุผลรองลงมาก็คือว่า เรื่องของความกตัญญู พ่ออยู่ใต้คนเดียว เขาอายุจะ 70แล้ว และด้วยความที่เราก็ยังเป็นโสด (พร้อมกับเสียง..อ่า..) ก็เลยคิดว่าลงไปอยู่เป็นเพื่อนพ่อดีกว่า เพราะฉนั้นอะไรที่เรายังคั่งค้าง เราก็อยากกลับไปปิดตัวเราเองให้จบกับทุกอย่าง ก็เลยคิดว่าจะทิ้งทวนทุกอย่างที่มันยังคั่งค้างอยู่ในกรุงเทพฯ ก็เลยเลือกที่จะไปค่าย ทั้ง ACC เพื่อไปปิดตัวเอง ทั้งค่ายเอแบคเพื่อปิดตัวเอง ….ไม่มีจุดมุ่งหมายอะไรเลย แค่ไปปิดตัวเอง
ม้าก้านกล้วย : 5 ปีผ่านไป พอกลับมาสัมผัสค่ายเอแบคอีกที่หนึ่ง รู้สึกมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในชมรมค่ายเอแบคหรือเปล่า
คิ้ม : เยอะ เปลี่ยนไปเยอะมาก 5 ปีที่หายไปบอกได้เลยว่า……. คนก็เปลี่ยนเยอะนะ เหมือนกับวุฒิภาวะของแต่ละคนบ่มเพาะเต็มที่ โตๆ กันทั้งนั้น จำได้เลยว่าพูดประโยคนี้ครั้งแรกกับไอ้รุ่งในค่ายหลังจากที่มันขึ้นมา บอกมันว่า
‘ตอนนี้มึงเปลี่ยนไปเยอะนะ’ จากเมื่อก่อนที่มองแบบเหมือน นักรบอ่ะ นักรบที่แบบว่า นักรบโง่ๆ (หัวเราะ) เฮ้ย 5 ปี มันเปลี่ยนไปเยอะมากนะ เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น…อะไรอย่างงี้ คือเราสามารถมองน้องเขาออกเลยว่า ความรับผิดชอบของเขา…ตอนนี้มีเต็มตัว เพราะฉนั้นหลายๆ คนที่เรามองว่า แม่ง! ครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อว่ากระบวนการค่ายทำให้คนเป็นคนได้ เสร็จแล้วผ่านไปช่วงหนึ่ง มีบางคนที่ขบวนการค่ายไม่สามารถทำให้คนเป็นคนได้ พอผ่านไปอีก 5 ปีย้อนกลับมา เอ่อ..ว่ะ….. ในสิ่งที่เราเคยเชื่อมันก็ยังเป็นจริง อยู่ ณ ตรงนั้น ก็คือกระบวนการค่ายสอนคนได้เปลี่ยนคนได้ นี่คือสิ่งที่ไม่เปลี่ยนในค่ายนี้ นอกนั้นก็คือผู้คนเปลี่ยน ตัวกิจกรรม ตัวรูปแบบอะไร เปลี่ยน “แน่นขึ้น ปึ๊กขึ้น” แต่ด้วยปัญหาเดิมๆ ที่เราเคยเจอเรื่องของความหยิ่งทรนงในตัวเองก็ยังมีเหมือนเดิม เราก็เลยย่ำอยู่กับที่ ในเรื่องของปริมาณ แต่เรื่องของคุณภาพเนี่ย.. ใช้คำว่าคับจอมั้ง ใช้คำว่าคับจอ คับแก้ว
ม้าก้านกล้วย : ถ้าเกิดให้วิเคราะห์ลงไปในรายละเอียด นี่คือสิ่งที่เรามองในคนที่เราเคยรู้จักเขาในฐานะการเป็นสมาชิกค่าย และ 5 ปีเขาเปลี่ยนไป เขาเติบโตขึ้น สถานะภาพเขาเปลี่ยนไป ถูกไหม
คิ้ม : ให้วิจารณ์ ไม่วิจารณ์ในแง่บวกละกัน วิจารณ์ในแง่ลบ สิ่งหนึ่งที่เห็นและคิดว่ามันเป็นจุดบอดจริงๆ มันคล้ายๆ กับที่ ACC นะ คือกลายเป็นว่าในสมัยที่เราลองผิดลองถูก เหมือนกับเราเติบโตและเราก้าวเดินด้วยการ ด้วย Step เท้าของเรา ที่นี่พอเราขึ้นมาอยู่ในจุดที่เราข้างบนแล้วเนี้ย ในสิ่งที่น้องเดินตาม น้องไม่ได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เขาเดิน….เดินย่างก้าวตามจังหวะที่เราเดิน เพราะฉนั้นเราจะเห็นว่าสิ่งที่น้องทำ ก้าวนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ก้าวนั้นจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา เพราะฉนั้นมันกลับกลายเป็นว่ามันมีบรรทัดฐานของการที่คนรุ่นหลังจะต้องเดินตามก้าว ก้าวย่างตาม ตามคนรุ่นแรกที่เขาเดินมาแล้ว มันอยู่ที่ว่าถ้าศักยภาพของเด็กที่เดินตามมามัน Get ที่มันเป็นบรรทัดฐาน Standard ชมรมจะอยู่ต่อได้ แต่ด้วยปริมาณมันไม่มากพอที่จะทำให้ชมรมอยู่ต่อไปได้ด้วยตัวของเด็กในการถ่ายรุ่นแต่ละรุ่น ถ้าวันหนึ่งมันขาดการต่อเนื่อง…หมายความว่าคนที่อยู่จุดสูง ณ ตรงนี้ไม่อยู่ สรุปสั้นๆ ชมรมนี้อยู่ได้ด้วยต้องมีรุ่นพี่ ถ้าไม่มีรุ่นพี่ ก็หมายความว่าเขาไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวของเขาเอง
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ลองวิเคราะห์ทางออกให้ฟังหน่อย
คิ้ม : คือ..ถ้ากูวิเคราะห์ทางออกได้ กูเอาไปใช้ที่ ACC แล้วแก้มันแล้วเว้ย (หัวเราะ) …ไม่มีทางออกให้จริงๆ จนแต้มเหมือนกัน ไม่มี… นึกไม่ออก — คือเหมือนกับเราโตขึ้นก็จริง แต่ว่าไอ้คนที่เดินตามหลังเรามาเนี้ย มันต้องมีเวลามากพอสมควรในการที่มันจะก้าวและก็ล้ม ก้าวและก็ล้ม แล้วก็เข้าใจในสิ่งที่เขาเดินผ่าน ณ ตรงนั้นมา ถามว่าเวลา 4 ปี น่าจะพอนะ กับการที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ เข้าใจในสิ่งที่เราเคยเป็น ต่อจากนั้นก็อยู่ที่ว่าเขาสามารถ จัดสรรแบ่งปันเวลากลับมาดูแลและก็ช่วยเหลือน้องต่อไปได้ไหม แต่ส่วนใหญ่แล้ว Fight บังคับด้วย เวลาด้วย ด้วยความรับผิดชอบ ด้วยหน้าที่การงาน จะให้เหมือนกับพี่หมง…อะไรอย่างงี้ ก็เป็นไปไม่ได้ คือเหมือนกับว่าทุกคนมีเส้นทางของตัวเอง มีโลกของตัวเอง มีสิ่งที่ตัวเองต้องไปทำ แต่สำหรับรุ่นพี่บางคนอาจจะเลือกใช้เวลานอกเหนือจากการทำงานทั้งหมดเนี้ยมาทุ่มให้กับ “บ้านของตัวเองหลังที่ 2” หรือชมรมอะไรตรงนี้ ฉนั้นจะให้คนที่เดินผ่านมาทางนี้กลับมารู้สึกผูกผันแล้วก็อยากดูแล หรืออยากทำอะไรต่อ มันก็พูดยาก…ใจเขาใจเรา ถ้าเป็นคนรุ่นเก่า โอเค..ใช่ จะรู้สึกว่าครั้งหนึ่งเราเคยมีส่วนเป็นแรงผลักดันให้จาก กลุ่ม ขยับขึ้นมาเป็น ชมรม และเป็นองค์กรที่ใหญ่และอยู่ต่อไปได้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มันก็มีความหวงแหนมันก็อยากให้คงอยู่ต่อไป แล้วความรู้สึก ความผูกพัน มิตรภาพ อะไรมันยังอยู่ แต่กลับเด็กรุ่นใหม่….มันไม่มีตรงนั้นไง
ม้าก้านกล้วย : กำลังจะบอกว่า…สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ตอนนี้แลกไปเพื่อจะได้สถานะภาพการทำงานค่ายเนี้ย มันไม่มี หรือว่ามันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้การเห็นคุณค่ามันต่ำกว่ารึเปล่า
คิ้ม : ใช่….คือเหมือนกับเด็กรุ่นใหม่ที่เข้ามาเนี้ย ถ้าแยกเป็น 2 ส่วน คือความรู้สึกผูกพันกับตัวค่าย กับความรู้สึกผูกพันกับตัวบุคคล ถ้าคนทำค่าย เขามีความรู้สึกว่าเขาห่วงคนรุ่นหลัง เขาจะยังไม่ปล่อยและยังไม่ทิ้ง ยังต้องกลับมาดูแล แต่อีกส่วนหนึ่งคือคนที่ผูกพันกับค่าย ถ้าเขามีจังหวะ มีเวลา มีโอกาส เขาจะกลับมาที่ค่ายอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉนั้น คนสองกลุ่ม มันจะมาจากสองฟิว สองอารมณ์ กลับมาเพราะว่าอยากมาสัมผัสบรรยากาศที่ตัวเองเคยได้รับ กับอีกส่วนหนึ่งกลับมาเพราะว่า อยากดูแลคนรุ่นต่อไป อยากให้อะไรคนรุ่นต่อไป ซึ่งคนกลุ่มหลังมันน้อย หรือแทบจะบอกได้ว่ารุ่นหลังๆ ไม่ค่อยมีแล้วละ
ม้าก้านกล้วย : ถ้าเกิดจะบอกว่า เราบอกว่าคนแบบที่สองมันมีน้อย จะมีวิธีการทำให้คนแบบแรกพัฒนาการเป็นคนแบบที่สองได้ไหม
คิ้ม : ไม่มีทาง ด้วยความเป็นตัวของ “ฅนค่าย” เป็นไปไม่ได้เลย (หัวเราะ) มันเป็นปัญหาเดียวกันกับที่ ACC ก็คือว่าเด็กที่ขึ้นมาทำค่ายเนี้ย ไม่ได้รักหรือมีความรู้สึกผูกพันที่อยากดูแลรุ่นต่อไป เหมือนกับว่าตัวเองขึ้นมาแล้วก็ไม่มีรุ่นพี่ขึ้นมาดูแล พอขึ้นมาในจังหวะปี 3 แล้ว เรียนจบแล้วไปเรียนมหาลัย เขาก็จะมีรุ่นพี่แก่ๆ ไปเลย พอตัวเองเรียนจบ เขาเลยไม่มีความรู้สึกผูกพันกับรุ่นต่อไป ที่จะต้องห่วงหาอาทรอะไรแล้ว ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างไป เขาจะมีรุ่นพี่รุ่นใหญ่มากกว่า เพราะฉนั้นถึงได้บอกไงว่า กับมันกลุ่มคนที่เดินเข้ามาในชมรมแล้วมาร่วมกิจกรรม พอหมดรุ่นของตัวเองไป เขาจะไม่มีความรู้สึกว่าเขาจะต้องดูแลคนรุ่นใหม่ คือเหมือนกับว่าเขาได้บรรยากาศ ได้ฟิว ในความรู้สึกของการอยู่ร่วมกันในค่าย คือชอบบรรยากาศที่เป็นค่าย คือไม่ได้สนิท หรือไม่ได้มีความสานสัมพันธ์กับคนรุ่นต่อไป เพราะฉนั้นเหมือนกับ……… (คิด)
ม้าก้านกล้วย : รับใช้ตัวเองอย่างเดียว ไม่ได้รับใช้ค่ายอย่างแท้จริง
คิ้ม : ใช่…..เพราะฉนั้นถามว่า ให้คนกลุ่มแรกมาเป็นกลุ่มที่สอง ไม่มีทาง….เป็นไปไม่ได้
ม้าก้านกล้วย : แล้วจะทำไง ถ้าเกิดบอกไม่มีทาง พี่ในฐานะรุ่นพี่ที่ผ่านและมีประสบการณ์ของค่ายค่อนข้างเยอะพอสมควร คิดว่าอะไรเป็นทางออก
คิ้ม : ทางออกเหรอ ไม่มี อย่างเหตุการณ์ในค่ายที่ผ่านมานี่ (ค่าย 18 เชียงใหม่) ย้อนกลับไปถึงรุ่นพี่ที่เป็นผู้ชายอีกครั้งหนึ่ง ถามว่าทุกค่ายเนี้ย เราเป็นตัวของเราเองอย่างนี้ เราไม่ใช่สุภาพบรุษที่จะคอยไป Take Care ดูแลเอาใจใส่ผู้หญิงอย่างออกนอกหน้า ถามว่าตรงนี้มันละเอียดอ่อนไหม มันก็ละเอียดอ่อน อย่างถามว่าในค่ายทุกคนต่างดูแลตัวเอง นั้นเป็นสิ่งดีที่เกิดขึ้นในค่ายที่ให้ทุกคนรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้ แต่ในทางกลับกัน การเอาใจใส่ การ Take Care ดูแลจากสมาชิกซึ่งกันและกัน…มันมีให้เห็นน้อยมาก เหมือนกับว่าต่างคนต่างอยู่ เพื่อให้ตัวเองอยู่ได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนคนอื่นหรือไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นมาก แต่มันก็เป็นข้อเสียในขณะเดียวกันว่า ไอ้ความรู้สึก…ของการห่วงใยกันมัน มันแสดงออกได้น้อยไง
ม้าก้านกล้วย : เพราะไม่เคยได้รับ
คิ้ม : อือ…. และมันไม่มีรุ่นพี่ที่เป็นในลักษณะแบบนี้ไง คือทุกคนจะกลายเป็น Copy พิมพ์เดียวกันไปแล้ว ดูแบบว่าต้องเถื่อนๆ ต้องเป็นแบบว่าดูเป็นตัวของตัวเอง ต้องแบบว่าไม่สวมหน้ากาก ไม่สวมหัวโขน ไม่ดีเสมอต้นเสมอปลาย อะไรงี้ (หัวเราะ) รุ่นพี่มันไม่วาไรตี้ไง เป็นในแบบว่าแบบฉบับเดียวกันหมด อย่างถามว่าชมรมอื่นที่รุ่นพี่เขา Take Care รุ่นน้อง ซึ่งเรามองว่าเป็นการใส่หน้ากากเข้าหากัน ถามว่าบางครั้งคนก็ยอมรับนะการใส่หน้ากากเข้าหากัน มีรุ่นพี่ลงมา Take Care รุ่นน้องเขาเลยอยู่กันได้ มันอาจจะที่แบบว่าอยากดูแลกันจริงๆ จังๆ ก็มี ถามว่าช่วงเวลาที่เราอยู่ในมหาลัยที่ไม่ใช่อยู่ในค่าย ก็ต่างคนต่างอยู่ ถามว่าจะมาเป็นห่วง มา Take Care ดูแลอะไรทุกเรื่องรึเปล่า ก็ไม่ใช่ ถามว่าสิ่งนี้ถ้ามันมีได้ มันก็สามารถทำให้คนรู้สึกว่า เอ่อ…อยากอยู่ ถึงได้บอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ ด้วยความที่เราของเราอย่างนี้
ม้าก้านกล้วย : ถ้าตัวเราเองไม่เปลี่ยน?
คิ้ม : ถ้าอยากให้มันเดินไปในแบบฉบับที่มันอยู่ได้ด้วยตัวเอง คือเราต้องเปลี่ยนตัวเราเองเยอะมาก ซึ่งพี่ก็เคยวิเคราะห์แล้ว คำตอบก็คือไม่มีทาง
ม้าก้านกล้วย : ถึง แม้คณะกรมการชุดนี้จะมีผู้หญิงเยอะ….มาก
คิ้ม : อือ..ก็ไม่มีทาง เพราะว่าเด็กมันเห็นอะไรหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง ในสิ่งที่ค่ายเป็น คือเหมือนกับว่าเด็กมาเห็นพี่ๆ ในค่ายเป็นต้นฉบับ และเขาเป็นอย่างงี้ บางครั้งมันก็ซึมซับไปโดยไม่รู้ตัว 5 ปีที่หายไป พี่สามารถฟันธงได้เลยนะ อย่างสมมุติว่าช่วงเวลาที่อยู่ในค่ายเนี้ย เอาเหตุการณ์ง่ายๆ เลย ทุกครั้งที่มีการนอนรอบกองไฟ ใครที่กินเหล้าเมาหลับก็พับตรงนั้น คือเท่าที่สังเกตดูแล้วเนี้ย คนที่นอนรอบกองไฟเนี้ย คนที่นอนรอบกองไปนอนไป สังเกตช่วงระยะแรก คือในช่วงเวลาออกค่ายกลางคืนอากาศค่อนข้างเย็น ถามว่าจะมีใครที่แบบว่า…หาผ้าห่มมาห่มให้เพื่อนมีไหม? คนที่นั่งเป็นยามก็เป็นยามไป ถามว่าจะมาสนในดูแลเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่นอนรอบกองไฟไหม….ก็ไม่มี ก็เหมือนกับอย่างที่บอก รับผิดชอบตัวเอง ดูแลตัวเอง ไม่เป็นภาระคนอื่น…ก็ดี แต่ในทางกลับกันถามว่าแล้วการแสดงออกในเรื่องของความรู้สึกดีๆ มันจะออกมาได้ยังไง ถ้าทุกคนยืนหยัดในจุดที่ตัวเองเป็น เพราะฉนั้นในเรื่องของความรู้สึกมันก็ไม่ได้ฟิวตรงนั้นไง …เพราะฉะนั้นไม่แปลกว่าช่วงตอนที่พี่อยู่รอบกองไฟ ใครนอนรอบกองไฟหลับไปเสร็จปุ๊บอ่ะ..น้ำค้างลง พี่ก็เอาผ้าห่มมาห่ม แต่ถามว่าเราต้องไปแสดงออกด้วยการป่าวประกาศบอกใครไหม ไม่จำเป็น เด็กมันตื่นมา “เอ๊ะ..ใครเอามาห่ม” มันก็ถามๆกัน เราก็ไม่ได้ไปบอก พี่เอามาห่มให้เอง ถามว่าความรู้สึกอย่างนี้ควรมีเกิดขึ้นไหม มันก็ควรจะมี มันเหมือนเป็นการเทคแคร์อะไรเล็กๆ น้อยๆ แต่คืออบอุ่นอ่ะ ใช้คำว่าอบอุ่น แต่มันไม่มีให้เห็น เพราะฉนั้นถ้าจะให้เราเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เราเป็นอย่างงี้ ถ้าเปลี่ยนได้ผลในด้านบวกก็จะดีขึ้น แต่คือมันต้องกลับมาดูว่า ในสิ่งที่เราเป็น คือเราต้องการให้ทุกคนที่มาออกค่ายเนี้ย รับผิดชอบตัวเองให้ได้ ดูแลตัวเองให้ได้ ไม่เป็นภาระของคนอื่น ตรงนี้ยังเหมือนเดิมได้ไหม ถ้าเหมือนเดิมได้ อ่ะ เราเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เราไม่มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของการดูแลคน ถ้าทำตรงนี้ได้อะไร แต่ยังคงเอกลักษณ์ดีๆ ไว้ ถ้าทำควบคู่กันไปได้ก็น่าจะมีอะไรดีขึ้น นี่ยังไม่ได้ยกตัวอย่างเรื่องการนั่งกินข้าวในค่าย ทำอะไรหลายๆอย่างในค่ายที่ ดูแล้วเหมือน โอ..แม่งงง คือบุคคลภายนอกมาเห็น ชมรมนี้แม่งโคตรไร้น้ำใจอย่างสิ้นเชิง แต่ถามว่าในสิ่งที่กระบวนการค่ายตรงนี้เป็น มันมีอะไรสอนแอบแฝง….มันก็มีไง แต่ถามว่าสิ่งทีแอบแฝงสอนตรงนั้น มันจะเสียอีกด้านหนึ่งไปหรือมันหาจุดลงตัว ก็ค่อนข้างยาก
ม้าก้านกล้วย : มันแฝงจนลึกเกินไป จนไม่มีใครหาไม่เจอรึเปล่า ว่ามันมีอะไรแอบแฝงรึเปล่า
คิ้ม : ก็มีส่วน
ม้าก้านกล้วย : คือ อ่านเกมส์แบบลึกมาก หลายชั้นมาก จนคนวางเกมส์เองเดินไม่ได้
คิ้ม : บางทีอาจไม่ได้ไปคิดถึง
ม้าก้านกล้วย : นั้นคือสิ่งที่มองต่อค่ายที่สัมผัสมา หลังจากนี้จำได้ว่าตอนวันสุดท้ายก่อนกลับจากค่าย ก็มีการพูดคุยกันในคืนสุดท้ายก่อนที่จะกลับกรุงเทพ ดูเหมือนว่าพี่จะ…..คำตัดสินที่ว่าจะเป็นค่ายสุดท้าย อาจมีอะไรเปลี่ยนแปลง…..ถ้าผมจำไม่ผิด คืออาจจะไม่ใช่ค่ายสุดท้าย แล้วแต่วาระโอกาสอะไรตรงนั้น
คิ้ม : ใช่….อาจจะไม่ใช่ค่ายสุดท้าย คือถ้าจะให้มาออกค่ายครบทุกวัน…..คงจะไม่ใช่ ก็อาจจะเป็นผันตัวเองไปในช่วงเวลาที่ timing เหมาะสม แล้วไปเยี่ยมได้อะไรอย่างนี้ ก็จะไปอยู่ตรงนั้นมากกว่า ทั้งกับที่ ACC และก็เอแบค ก็คือ ก็ต้องกลับมาดูเงื่อนไขตัวเองไงว่า ….ไปได้ไหม ถ้าไปแล้วติดอะไรไหม… เพราะทำเกษตรนี่ก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับเรา ซี่งก็ไม่รู้ว่าจะยากหรือง่าย มันเหมือนกับ….ก็ไปลองผิดลองถูกในชีวิตตัวเองดู
ม้าก้านกล้วย : ที่เราพูดกันมาคือมุมมองที่ต่อค่ายล่าสุดที่ได้สัมผัส และก็ คนทำค่าย คณะกรรมค่าย ที่เราสัมผัสมา มองเห็นด้านที่ควรจะต้องปรับเปลี่ยน และมีด้านที่ดีที่น่าจะรักษาไว้บ้างไหม
คิ้ม : ด้านดีๆ เหรอ…. เอาให้เป็นแง่คิดดีกว่า คือบางครั้งเห็นด้วยกับระบบงาน แต่บางครั้งมีความรู้สึกขัดแย้งเหมือนกัน คือคนที่รับผิดชอบแล้วมีตำแหน่งเนี้ย ถ้าเรามองในแง่ที่….ตำแหน่งคือหัวโขนที่เราสวมใส่ลงไปเพื่อให้รู้ว่า ชมรมนี้มีการทำงานที่เป็นระบบ มันก็โอเค แต่ถ้ามองอีกด้านหนึ่ง ในแง่ของการที่คนมีตำแหน่งให้รับผิดชอบ มันสามารถที่จะเรียนรู้และฝึกฝนและได้อะไรจากตรงนั้นมากพอสมควร ที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเขา มันอยู่ที่มุมมองของเราไงว่า ถ้าเรามองว่ามุมมอง Negative-Thinking การมีตำแหน่งคือการมีหัวโขนมันก็ใช่ แต่ถ้ามองในแง่บวกแล้ว…ไม่ใช่มันจะไม่ได้ประโยชน์อะไรซะเลย สำหรับคนที่มีตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ แต่นี้มันก่ำกึ่งกันไง ความรู้สึกของคนที่ลงไปมีตำแหน่ง แต่เหมือนกับถูกตั้งเงื่อนไข หรือถูกตั้งบทบาทกฏเกณฑ์ว่า ก็ไม่ได้สำคัญอะไร…แค่หัวโขน เด็กมันจะมันจะเกิดความรู้สึก มันจะเกิด คำถามไหมว่า แล้วกูจะมีตำแหน่งไปเพื่ออะไร ถ้าสิ่งที่กูเป็นอยู่ มันก็ไม่ได้มีความแตกต่าง อะไรจากคำว่า ทีมงาน มันก็เป็นเรื่องที่น่าคิด อย่างถามว่าในชีวิตความเป็นจริงของการทำงานแล้วเนี้ย บทบาท-หน้าที่-ตำแหน่ง สำคัญ แล้วเป็นสิ่งที่บอกถึงความสามารถและศักยภาพของคนๆ นั้นได้เลย แต่ถ้าสิ่งที่เราเป็นเนี้ย พี่ก็เห็นด้วยกับการที่ถ้าเรามองว่าตำแหน่งตรงนี้เป็นเรื่องของหัวโขน แต่คือมันต้องมองทั้งสองด้านไง เพราะคนที่มีตำแหน่งไม่ว่าเป็นประธาน หัวหน้าฝ่ายอะไรต่างๆ เนี้ย เขามีสิทธ์ิและเขามีโอกาสที่ จะได้ลงไปรับผิดชอบแล้วได้เรียนรู้แล้วได้ประโยชน์จากตรงนั้นหลังจากที่เราลงไปทำแล้ว คือมองในส่วนของคนที่ทำ กับมองในส่วนของคนที่มาลงฝ่าย ซึ่งมันจะได้ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเราให้เขามีความรู้สึกว่า สิ่งที่เขาเป็นอยู่ตรงนั้นคือการสวมหัวโขนลงไป เขาจะได้รู้สึก..รึเปล่าว่า การที่เขามีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบตรงนั้น คือสิ่งที่เขาจะได้เรียนรู้ ถ้าไม่ได้คิดตรงนั้นมันก็ไม่เกิดประโยชน์ขึ้นนะ เพราะจะกลายเป็นว่าเด็กมันจะเกิด Feeling ทันที่เลยว่า ก็ไม่มีอะไรนี่ แค่หัวโขนใส่ลงไปเพื่อให้ค่ายมันมี มีอะไรอ่ะ..เป็นระบบแค่นั้นเอง
ม้าก้านกล้วย : ..ก็คิดว่าถามจะสอบถามเพื่อเติมส่วนที่เกี่ยวกับ… จากที่เราได้พูดคุยกันมาเนี้ย ทราบมาว่าพี่คิ้ม คือออกค่ายมาเยอะมากทั้งค่ายที่ ACC และก็ที่เอแบค ทีนี้เนี้ย…จากระยะเวลาเกือบ 10 ปีได้มั้ง..ที่สัมผัสตรงนั้นมา คิดว่า การออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเนี้ย เราเห็นว่าชนบทเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างในช่วงสิปีที่ผ่านมา มีอะไรเหมือนเดิม มีอะไรเปลี่ยนแปลง อยากให้วิเคราะห์คร่าวๆ
คิ้ม : “ยากมาก?” เรื่องแรกเลยที่เห็นได้ชัดเลย คือเรื่องของเทคโนโลยี สมัย 10 ปีก่อนเนี้ย กว่าจะเข้าไปถึงพื้นที่เนี้ย โห… ยากมาก เดี๋ยวนี้เหรอ….ในแต่ละหมู่บ้านที่ไปออก เอาแค่ง่ายๆ แค่เรื่องโทรศัพท์อ่ะ คือมันเข้าถึงกันได้หมด ถ้าจะถามว่า ความเจริญในช่วงแค่สิบปี มีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของ ชนบทไหม….มี….และมีสูงด้วย จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงค่ายอาสาฯ กับสภาพพื้นที่นะ ไม่ Match กันเลย คือจะบอกได้ว่านักศึกษาที่ไปออกค่ายอาสาฯ แล้วไปทำอะไรไว้เนี้ย ใช้คำว่า…เป็นสิ่งของสิ้นเปลืองละกัน มากกว่าร้อยละ 80 ที่สิ่งก่อสร้างนั้นไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือถ้าจะบอกได้ว่า ไปทำแล้ว หรือตอนที่ไม่มี ไม่ได้แตกต่างมีอยู่ไม่กี่ที่ ที่ไปทำแล้ว ความเจริญหลั่งไหลตามเข้าไป….มี มีอยู่สองที่ ที่ชัยภูมิที่เคยไปออกที่ ACC ปรากฏว่าเข้าไปสร้างอาคารเอนกประสงค์อะไรให้แล้ว ถนนเข้าไป ไฟฟ้าเข้าไป ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มี กลายเป็นว่าพื้นที่ตรงนั้นถูกมองข้าม แต่ปรากฏว่าพอนักศึกษาเข้าไป ความเจริญที่เหลือตามเข้าไป ด้วยเหตุผลอะไรไม่รู้ แต่มีโอกาสได้กลับไปเยี่ยม ซึ่งคนในพื้นที่เขารู้สึกว่าชมรมอาสาพัฒนา ACC เป็นคนที่มีพระคุณกับเขา เขาใช้คำนี้เลย หลังจากนั้นมาก็เลยกลายเป็นความผูกพันที่ มีโอกาสจะต้องไปเยี่ยมทุกปี และเป็นที่เดียวที่ชมรมอาสา ACC ไปแล้ว ไปนอนบ้านไหนก็ได้ และเป็นที่เดียวที่..คุณเอาของวางไว้ตรงไหนของหมู่บ้านแล้วไม่มีของหาย แล้วจะนอนที่ไหน…ไม่มีบ้านไหนไม่ต้อนรับ เป็นที่เดียวจริงๆ แต่กับปัจจุบันไม่รู้นะ….เพราะว่ามันผ่านไปแล้ว 10 ปีและก็ไม่มีโอกาสได้กลับไปเยี่ยม คนรุ่นใหม่ก็ขึ้นมาเยอะอะไรอย่างงี้ นอกเหนือจากนั้น (คิด) อือมมม….ใช้คำว่าสังคมชนบทเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จาก 10-15 ปีก่อนกับสภาพปัจจุบันที่ความเจริญและก็ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วมีผลมาก
ม้าก้านกล้วย : ตรงนั้นเปลี่ยนไปตามกระแสของการหมุนของสังคมของโลกก็แล้วแต่ คิดว่ามันให้ผลในแง่ดี หรือในแง่ไม่ดีต่อคนชนบทที่เราไปสัมผัส
คิ้ม : คำถามนี้ไม่อยากตอบเลย ให้ตายเหอะโรบิ้น…..!!! คือถ้าตอบแบบความรู้สึกตัวเองเนี้ย “ไม่ดี” แต่ถ้าให้ตอบอย่างคนทั่วไป ต้องมองทั้งสองด้าน คือมันมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ส่วนดีเนี้ย ถามว่าจากเมื่อก่อนเนี้ย ความเจริญมันค่อนข้างจะ….ใช้คำว่า ‘คงที่’ ละกัน ถ้าไม่มีอะไรเข้าไปจุดประกายไฟในพื้นที่ตรงนั้น วิถีชีวิตที่เขาเป็นอยู่จะยังคงเหมือนเดิมทุกอย่าง พอมีอะไรใหม่ๆ เข้าไป วัฒนธรรมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ถามว่าผู้คนใช้ชีวิตได้สบายขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวก….ที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นอันนี้ไม่รู้นะ ว่าเขาจะได้ใช้ตรงนั้นหรือเปล่า ซึ่งในส่วนนั้นก็เป็นส่วนดีไง แต่ถามว่ามันทำให้วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของเขาเปลี่ยนแปลงแล้วเกิดผลเสียในระยะยาวไหม? มันก็มีไง เพราะฉนั้นมันสรุปไม่ได้อะไรเลย ณ ตอนนี้ แต่ถ้าโดยส่วนตัวแล้วเนี้ย ยังคงเห็นชอบกับสิ่งที่….สภาพสังคมไทยเป็นอยู่ละกัน คือมีความรู้สึกว่าตัวเองก็ดิ้นรนแสวงหาความสงบ ถึงได้ผันชีวิตตัวเอง อยากไปใช้ชีวิตชนบท อยากไปทำเกษตรอะไรอย่างงี้ แบบฉบับในสิ่งที่คนไทยเคยเป็นตรงก็นั้นน่าจะดีกว่า เพราะฉนั้นก็เป็นคนที่ค้อนข้าง…อาจจะใช้คำว่าหัวโบราณอยู่มั้ง
ม้าก้านกล้วย : มันกลายเป็นว่าเรา…เดินสวนทางกระแสหลักของคนอื่นรึเปล่า
คิ้ม : ใช่… อือ แต่ยังงงตัวเองอยู่เหมือนกันนะ ว่าเหมือนกับเราใช้ชีวิตในเมืองหลวงอ่ะ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่งเราตัดสินใจผันตัวเองไปจากตรงนั้น สิ่งที่เราสวนกระแสกับเขาเนี้ย ในสภาพความเป็นจริงแล้วเราจะกลับไปอยู่ตรงนั้นได้หรือเปล่า…ก็ยังไม่รู้ เพราะฉนั้นเหมือนกับผู้คนอีกจำนวนมากมายเลยที่สวนกระแสหรือตามกระแส แล้วเขาจะอยู่ยังไง มันก็น่าคิด…
ม้าก้านกล้วย : ยังไม่มีคำตอบ
คิ้ม : ยังไม่มีคำตอบอะไรให้ เพราะมันตอบไม่ได้จริงๆ แต่ถ้าตอบจากความรู้สึกตัวเองก็คือ ชอบอะไรที่ไม่รวดเร็วจนเกินไปนัก คือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ให้คงสภาพในสิ่งดีๆ ที่เคยเป็น
ม้าก้านกล้วย : แต่ถ้าฟังดูมันขัดแย้ง…
คิ้ม : อ้าว…แน่นอนดิ (หัวเราะ) ขัดแย้งอย่างเต็มที่ด้วย
ม้าก้านกล้วย : โดยรูปแบบกิจกรรมเราพาสิ่งนั้นเข้าไปหาเขา แต่ตัวเราเองอยากให้เขาเองเป็นเหมือนเดิม แล้วจะเข้าไปทำไม?
คิ้ม : ก็นั่นนะสิ
อรรณพ นิพิทเมธาวี : เป็นคำตอบที่ดีมากเลย ‘ก็นั่นนะสิ’ (หัวเราะ)
คิ้ม : ก็บอกแล้วไงว่า อะไรหลายๆ อย่างบางครั้งมันก็ไม่ได้เป็นความลงตัวที่เราคิดและเราทำ หลายสิ่งหลายอย่างเนี้ย คือมันออกมาโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจซะด้วยซ้ำไป ….อือ คิดแปลก (หัวเราะ)
ม้าก้านกล้วย : คือมีคำตอบให้กับตัวเอง
คิ้ม : เป็นคำตอบของตัวเอง เพราะถ้าถามว่า….อันนี้แบบเข้าประเด็นเลยนะ กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาฯ กับชนบทในสภาพปัจจุบันเนี้ย “ไม่เกิดประโยชน์อ่ะ” ไม่เกิดประโยชน์แบบว่าอย่างคุ้มค่านะ เพราะในขณะที่ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีเข้าไปถึงหมู่บ้านแล้วอ่ะ แต่ในสิ่งที่เราเป็น มันไม่ใช่อ่ะ คุณเอาอาคารหลังหนึ่งไปลงในพื้นที่แล้วบอกว่าสิ่งนี้จะทำให้ผู้คนหรือแม้กระทั่งตัวเด็กในพื้นที่ตรงนั้น…เจริญขึ้น ถ้าเป็นเมื่อก่อน…ใช่ ผู้คนมองว่าเด็กมันขาดสถานที่เรียนนะ แล้วมีคนมาสร้างสถานที่เรียนให้และเด็กได้ใช้ประโยชน์ เอ่อ… ตรงนั้นคือ เด็กมีที่เรียน เด็กจะได้รับความรู้ แต่สิ่งเหล่านั้นเนี้ย..มันเป็นอดีตไปแล้วอ่ะ การไปออกค่ายและไปสร้างสถานที่เรียนให้เด็ก ไม่ได้เป็นคำตอบที่บอกว่า เมื่อคุณสร้างเสร็จแล้วเนี้ย…เด็กจะมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือเด็กจะมีการศึกษาที่ดีขึ้น อ่ะ…นั้นคือส่วนหนึ่ง แล้วในแง่ของ นโยบายการศึกษา ในขณะเขาจะยุบโรงเรียนสาขาทั้งหมด ก็คือโรงเรียนลูกนั้นแหละ แล้วให้เด็กออกไปเรียนโรงเรียนแม่ แต่สิ่งที่เราไปทำเนี้ย…อาคารที่เราไปทำเนี้ย คือเราไปสร้างอาคารเรียนชั่วคราวที่เป็นโรงเรียนสาขาทั้งนั้น แล้ววันหนึ่งเนี้ยมันก็ต้องถูกยุบไป ไม่ได้ใช้ คือเขาจะไม่ได้กระจายแล้ว เขาจะรวมศูนย์ เพราะฉนั้นถามว่า ค่ายหนึ่งใช้เงินไปเป็น 100,000 สุดท้ายแล้ว…มันก็ละลายหายไป อ่ะ..โอเค เรากลับมาที่ตัวบุคคลที่เราพาเขาออกไป คุ้มไหมกับเม็ดเงิน อันนี้….ที่พูดตรงนี้ขึ้นมาเพระว่าในฐานะของคนเรียน Marketing ทำให้เรามองตรงนั้น
อรรณพ นิพิทเมธาวี : จริงๆ ต้องเรียนเศรษฐศาสตร์เด๊ะ ไม่ใช่เหรอ…
คิ้ม : กูก็เรียนเศรษฐศาสตร์ไง เรียนสองอย่างรวมกัน มันทำให้เรามองว่าสิ่งที่เราลงทุนไป วางแผนอะไรไป แล้วสุดท้ายมันกลับมาแล้วมันคุ้มไหม? คือพี่ยอมรับว่าเวลาพี่วิเคราะห์หรือประเมินผลอะไรเนี้ย จะมองจากตรงนี้ด้วย ซึ่งพี่ก็ได้คำตอบว่า “ไม่คุ้ม” ไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ลงไปแล้วผลที่ได้ออกมาก็คือ…ได้แค่นี้
ม้าก้านกล้วย : เดียวนะ ถ้าบอกว่าไม่คุ้ม คือไม่คุ้มเพราะว่า มันไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็นรึเปล่า เพระใช้คำว่า ‘ได้แค่นี้’ หรือคาดหวังว่าจะได้อะไรมากกว่านี้
คิ้ม : ไม่ใช่ๆ เอ่ออออ…. เหมือนกับการออกค่ายไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องสำหรับการช่วยเหลือสังคม คือกลายเป็นว่าเรื่องใกล้ตัวของนักศึกษาที่อยู่ในกรุงเทพเนี้ย เรายังทำไม่ได้เลย การที่เรามุ่งออกไปถึงสังคมชนบท ไปไกลตัวสุดกู่ขนาดนั้น แล้วบอกว่าสิ่งที่คุณไปทำ คุณทำให้คน ทำให้เด็กในพื้นที่ได้มีที่เรียน ได้มีโอกาสทางการศึกษา แต่ถามว่าปัญหาในกรุงเทพฯ ที่มันใกล้ตัว ที่มันเยอะแยะมากมาย เรากลับมองข้ามผ่านเลยไปหรือไม่ได้ไปใส่ใจ แต่มุ่งไปที่ค่าย มันเหมือนกับ…. เหมือนกับอะไรอ่ะ.. เราไม่ได้ทำงานเพื่อกิจกรรมสังคมอย่างแท้จริง แต่เรามุ่งไปที่แต่ตัวค่าย มุ่งไปที่ความรู้สึกอะไรหลายๆ อย่างของตัวค่าย ซึ่งสิ่งนั้นมันเติมเต็มให้กับเราในแง่ของความรู้สึก ซึ่ง เมื่อเราทำตรงนี้แล้วเนี้ย เราก็ได้ในส่วนที่ช่วยเหลือกิจกรรม ช่วยเหลือสังคมไปในตัว และถามว่า จะให้คนที่อยู่ในชมรมค่ายอาสาฯ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่อยู่ในกรุงเทพไม่ต้องไปออกค่าย….แล้วเราจะ Happy กันไหม ซึ่งพี่ก็ไม่รู้ อย่างถามว่าเราเคยทำกิจกรรมในลักษณะที่ว่า ให้เป็นโครงการประจำเทอมเลยนะ ไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์ ไปเยี่ยมคนชรา อะไรอย่างงี้ เราก็ไม่ได้ทำกัน หรือทำอะไรที่มันใกล้ตัวเรา ที่เป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนในกรุงเทพอะไรอย่างงี้ ก็ไม่มีเพราะฉนั้นในเรื่องของการพัฒนาสังคม ช่วยเหลือสังคม อะไรตรงนี้ พี่ก็เลยมองไปว่ามันไม่ใช่คำตอบไง มันเป็นในเรื่องของการสนอง Need
ม้าก้านกล้วย : นิยามของคำว่าสังคมตรงนั้นที่ช่วยเหลือสังคม นิยามของคำว่าสังคมมันบิดเบือนไปรึเปล่า?
คิ้ม : อันนี้ไม่รู้
ม้าก้านกล้วย : เพราะว่าเข้าใจเหมือนกับเป็นการมองแยกส่วน เหมือนกับการไปออกค่าย..คือวาระการ ทำอะไรบางอย่างเพื่อสังคม สังคมนั้นคือพื้นที่ๆเราเอาค่ายไปออก แต่พี่กำลังบอกว่า เมื่อกลับมาเนี้ยสังคมเหมือนกัน ที่รอบตัวเรา เราไม่ได้มองเห็นมัน เพราะฉนั้นนิยามของคำว่าสังคมที่เด็กค่ายควรจะรู้สึกแล้วเข้าใจมันบิดเบือนไปรึเปล่า?
คิ้ม : ไม่ได้บิดเบือนหรอก ไม่ได้มองถึง
ม้าก้านกล้วย : มองไม่เห็น….ไม่ได้ตระหนักถึง
คิ้ม : อือมมมม….อันนี้ไม่รู้นะ ตอบไม่ได้เหมือนกัน แต่ว่าความรู้สึกหนึ่งที่หลังจากกลับจากค่ายพิษณุโลกมาแล้วเนี้ย คือ อ่ะ อย่างน้อยคือ ณ ช่วงเวลานั้นเนี้ย พวกเราได้มีโอกาสคุยกัน แล้วกลุ่มคนที่เริ่มทำค่ายตรงนั้น มีความรู้สึกเริ่มต้นของการทำค่ายไม่ใช่เพราะอยากทำงานเพื่อสังคม แต่เป็นเพราะว่าสนอง Need ในตัวเอง แต่ไอ้การสนอง Need ตัวเองตรงนั้นเนี้ย ในทางกลับกันทำให้เขาได้เรียนรู้ ทำให้เขาได้เรียนรู้ในส่วนของสังคมรอบข้างเขาอะ
นกเสรี : เป็น Need เลยเหรอ
คิ้ม : อ้าาาว….พี่ ผมยังยอมรับตัวผมเองเลย คือถามว่าไปค่ายแล้วมีความสุขไหม…มันก็มีความสุขอะ ในแง่ของผลพลอยได้ มันก็ถือว่าเป็นการได้ช่วยเหลือสังคมในอีกรูปแบบหนึ่ง ถามว่ามันเป็นคำตอบสุดท้ายไหม..มองว่ามันไม่ใช่แล้ว
ม้าก้านกล้วย : ถ้าคิดอย่างที่พี่พูดเนี้ย แล้วจากนี้ไปการไปค่ายมันจะเป็นยังไง หมายความว่ามันสามารถจะรับใช้อะไรอื่น..นอกจากสนอง Need ตัวเองอีกไหม
คิ้ม : รับใช้ได้ในระดับหนึ่ง ในแง่ที่ว่า เราพาเด็กที่ไปออกค่ายเนี้ย ให้เขาได้ไปเห็นสิ่งที่เขาไม่เคยเจอในกรุงเทพฯ แล้วหลังจากนั้นเนี้ย ขึ้นอยู่กับตัวคนๆ นั้นเองว่าเขากลับมาแล้ว เขามองสังคมรอบข้างตัวเขายังไง ถามว่าเราจะไปชี้นำหรือว่าให้เขาเกิดความรู้สึกว่า เขากลับมาแล้วต้องรับใช้สังคมไหม….คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่เหมือนกับให้เขาได้กลับมา ‘ตอบ’ แล้ว ‘เลือก’ เลือกที่ตัวเองจะเป็นว่าเขาจะมีส่วนช่วยเหลือสังคมยังไง ในวิถีชีวิตที่เขาเป็น เอ้อ..ก็อย่างที่ ACC มันก็มีน้องถามเหมือนกันว่า “อ้าว..พี่กลับจากค่ายไปแล้วเนี้ย เขาสามารถช่วยเหลือสังคมอะไรได้บ้าง นอกเหนือจากการไปค่าย” เด็กเคยตั้งคำถามนี้นะ ..แล้วถ้าเขาไม่ได้ออกค่ายที่ ACC แล้วเนี้ย พอเขาไปเรียนในมหา’ลัย เขาทำอะไรได้บ้าง มีเด็กตั้งคำถามเหมือนกัน…แต่มันน้อยมาก
ม้าก้านกล้วย : น่าคิดนะ ….น่าคิดเพราะว่า เท่าที่ผมจำได้เนี้ย ยังไม่เคยมีเด็กชมรมค่ายฯ เรา ถามคำถามอย่างนี้
คิ้ม : แต่พี่ได้คำตอบเหมือนกันว่าทำไมเด็กถึงตั้งคำถามนี้ มันขึ้นอยู่กับหมู่บ้านที่ไปออกด้วยว่าชาวบ้านมีส่วนร่วมแค่ไหน ในการที่เราไปทำค่ายแล้ว เด็กมีความรู้สึกดีที่ได้ไปพูดคุยกับชาวบ้าน ได้เห็นน้ำใจของคนชนบท ของคนต่างจังหวัดที่เขาไม่เคยเห็นในกรุงเทพฯ แล้วเด็กก็มีมุมมองที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับคนชนชั้นใช้แรงงาน เด็กมีมุมมองที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับคนรับใช้ที่บ้าน คือเขามองคนเป็นคนมากขึ้น เหมือนกับเด็กมันก็ตอบตัวมันเองได้แล้วว่า เอ้อ..ไอ้สิ่งที่มันถามมาว่า “พี่ผมกลับมาแล้วผมจะ ช่วยเหลือสังคมยังไงได้บ้าง” เราก็เลยบอกให้เขาเริ่มต้นจากตัวเอง เริ่มต้นจากคนใกล้ตัว เริ่มต้นจากที่บ้าน ถามว่าคุณไปเห็นคนต่างจังหวัด แล้วคุณได้รับสิ่งดีๆ ได้รับความอบอุ่นจากเขา ได้รับการดูแล เขาเอาข้าวมาให้คุณกิน เขาเอาของมาบริการคุณถึงในค่ายเลยอะไรยังงี้ คุณมองคนเหล่านี้เปลี่ยนไปไหม มันคนก็บอก…เปลี่ยนไป ซึ่งเด็กในเมืองหลวงเนี้ย ร้อยละ 99 เลย มองคนชนชั้นใช้แรงงานหรือมองคนที่ทำงานในโรงงานเป็นคนที่ชนชั้นต่ำกว่า เรียกเสี่ยวบ้าง เรียกลาวบ้างอะไรอย่างงี้ เขาก็รู้สึกว่าเขาไม่เรียกคนเหล่านั้นเป็นอย่างงั้นแล้ว เพราะเขารู้สึกว่าคนเหล่าคือคนที่เขาไปเจอในที่ๆ เขาไปออกค่าย จากที่เมื่อก่อนเขามองว่าคนใช้ที่บ้าน พ่อแม่เขาจ่ายเงินค่าจ้างให้ เขาก็มีสิทธิ์ที่จะใช้หรือจะใส่อารมณ์อะไรได้เต็มที่ กลับมาเขารู้สึก “เออ..เนี้ย หนูเปลี่ยนไปนะ เห็นคุณค่าของเขามากขึ้น” อย่างในส่วนของกรรมกรเนี้ย เด็กก็มองว่าพวกกรรมกรกินเหล้า อะไรลักษณะตรงนั้น เขาก็มองว่ากรรมกรคือคนที่น่ากลัว ที่อย่าไปอยู่ใกล้ มีโอกาสที่พวกนี้เมาเหล้าหรือเมายาแล้วจะมาทำอันตรายอะไรเขา มุมมองตรงนี้คือเด็กมันเปลี่ยนไป บางคนคิดได้เองนะ แต่บางคนเราต้องคุยกับเขาก่อน อย่างกลับมาที่ค่ายที่เอแบคยังงี้….ถามว่าทำไมเด็กถึงไม่ได้รู้สึก หรือน้อยคนที่จะกลับมาคิดอะไรได้ตรงนี้ เหมือนกับบางที่เราก็ต้องคุยกับเขา พูดให้เขาได้เห็น ถามว่าการที่เราพูดประเด็นอะไรเกี่ยวกับเรื่องสังคมในค่ายที่มัน….จริงๆ มันก็เป็นเรื่องไม่ไกลตัวนะ แต่อยากให้เริ่มต้นอะไรที่ใกล้ๆ ตัวจากสภาพที่เขาเป็นอยู่ ที่เขาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ จริงๆ เริ่มต้นจากพวกนี้ให้เขามองคนให้เป็นคนให้ได้ก่อน แล้วนอกเหนือจากนั้น อยากให้เขามองอะไรเกี่ยวกับสังคมโดยส่วนรวม ค่อยว่ากันอีกทีหนึ่ง แต่เหมือนกับว่าเรามองว่าเด็กที่ไปค่ายเนี้ย พอเขากลับไปแล้วเขาจะต้องคิดสิ่งเหล่านี้ให้ได้ จากกระบวนการในค่ายที่เด็กได้ไปออก ปชส. เด็กได้ไปลงงานถาวร มันก็มีที่คิดได้เองและก็คิดไม่ได้เลย
ม้าก้านกล้วย : ถ้าอย่างงั้นแล้วเนี้ย หมายความว่ามันไม่มีกระบวนการในการต่อยอด…กับเด็กที่ไปค่าย
คิ้ม : อือ…เราคงไม่ถึงขนาด….ใช้คำว่ายัดเยียดเรื่องสังคมให้เด็ก เพราะถ้าถามจริงแล้วเนี้ย วิถีชีวิตของ…ไม่ว่าเด็กที่ ACC หรือว่าที่มหา’ลัยนะ เขาไม่ได้มานั่งติดตามข่าว เรื่องเกี่ยวกับการประท้วง เรื่องการก่อม็อบ ทุกวันเหมือนกับคนที่ เอ้อ…. เหมือนกับที่พวกเราที่สนใจเรื่องการเมืองจริงๆ วิถีชวิตของเขาเนี้ยนอกจากเรียนให้จบ เรียนให้รอดแต่ละเทอมแล้วเนี้ย ช่วงเวลาที่เหลือของเขาก็คือหมดไปกับการใช้ชีวิตในวัยของเขาที่ควรจะเป็น ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวกับเพื่อน ถามว่าจะให้เขากระโดดข้ามไปสนใจเรื่องสังคมอะไรตรงนั้น นอกจากเด็กที่สนใจจริงๆ ถึงทำได้ แต่ถ้าจะให้เป็นทุกคนสำหรับเด็กที่ไปค่ายหรือเด็กที่ได้มาอยู่ชมรม อยากให้เริ่มต้นที่ตัวเขามากที่กว่า เหมือนกับให้เขาจัดการชีวิตตัวเขาเองให้ได้ ทำให้ได้ก่อน …..ไม่รุ้นะพี่มองอย่างงี้นะ แม้กระทั่งกับตัวเราเอง เราก็ไม่ได้ถึงขนาดว่าจะติดตามเรื่องเกี่ยวกับข่าวคราวของสังคม….เจาะลึกอะไรขนาดนั้น เราก็มีอารมณ์ที่แบบว่า…ไม่อยากไปเครียดกับสิ่งเหล่านั้น หรือจะบอกว่าปิดกั้นที่จะรับรู้เรื่องราวตรงนั้น …ก็ใช่…สนใจก็สนใจแต่ว่า ไม่ใช่ที่ชีวิตเราทั้งชีวิตอ่ะ
ม้าก้านกล้วย : สุดท้าย…แล้ว…
อรรณพ นิพิทเมธาวี : งั้นกูถามก่อน…ทำไมชอบกัสจัง ??!!
คิ้ม : เป็นตัวการ์ตูนที่วาดได้เป็นตัวแรกและเป็นตัวเดียว (หัวเราะ) ….นี่คือคำตอบ
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ทำไมชอบ ลิเวอร์พูล
พันทิวา : แล้วทำไมไม่ชอบ แมนยูฯ
คิ้ม : …เป็นสโมสรแรก…ที่รู้จัก (หัวเราะ) และได้มีโอกาสได้ดูครั้งหนึ่ง ตอนนั้นได้ดูแมทแข่งขันลิเวอร์พูลแข่งขันกับทีมอะไรจำไม่ได้แล้ว ตอนนั้นได้ดู จอห์น บาร์น ชอบ จอห์น บาร์น เป็นคนแรก ลากแล้วเลื้อยไต่เส้น โห….นั้นแหละ แล้วหลังจากนั้นมาก็ลิเวอร์พูลทีมเดียว
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ทำไมชอบอ่านนิยายจีน
คิ้ม : ไม่มีเหตุผล (หัวเราะ) ก็อ่านแล้วมันสนุก…แต่จริงๆแล้วเริ่มต้นมาจากนิยายไทย เรื่องแรกที่อ่านเลยนะ “ขอหมอนใบนั้นฯ” ของปภัสสร และเรื่องที่สอง “ขอให้เรานั้นนิรันดร” เอามาทำเป็นหนังด้วย
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ชีวิตนี้ทำอะไรแล้วรู้สึกมีความสุขที่สุด
คิ้ม : เยอะ
อรรณพ นิพิทเมธาวี : คัดเด็ดๆ มาซัก 2-3 อัน
คิ้ม : เด็ดๆ เลยเหรอ… มีความสุขในแง่ไหนอ่ะ
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ชีวิตมีความสุข
คิ้ม : ชีวิตมีความสุขเหรอ…ช่วงที่เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย คือรับผิดชอบตัวเอง ดูแลตัวเอง โดยไม่ต้องขอเงินพ่อแม่
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ถ้าพรุ่งนี้ตื่นมาเนี้ย… ไม่เอาเปลี่ยนใหม่ ถ้ามึงรู้ตัวว่าคืนนี้จะได้นอนคืนสุดท้ายและจะนอนหลับไปเลยไม่ตื่นอีกแล้ว จะตายจากโลกนี้ไปแล้ว อะไรที่รู้สึกว่ายังไม่ได้ทำ แล้วยังอยากจะทำ
คิ้ม : อือมมมม… ไม่เคยคิดเลยนะ..(คิด) ไม่รู้ ไม่มี
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ‘ไม่รู้’ หรือ ‘ไม่มี’
คิ้ม : จริงๆ มันก็มีอะไรเยอะแยะแหละ ที่ยังไม่ได้ทำ และก็อยากจะทำ
นกเสรี : แต่ยังไม่ได้จัดลำดับ…
คิ้ม : แต่ยังไม่ได้จัดลำดับ ก็เหมือนกับว่า ต้องทำอะไร ถึงเวลานั้นก็ทำ
อรรณพ นิพิทเมธาวี : แสดงว่ามันยังไม่มีอะไรในใจที่มุ่งมั่นในใจว่า……
คิ้ม : ใช่ คือไม่มีเป้าหมายในชีวิต ยังไม่มีเป้าหมายชิวิตที่เป็น…จุดสุดยอดของชีวิต เมื่อก่อนมี แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ลองนิยามคำว่า “คิ้ม ภูเทพ” ให้ฟังหน่อย…เขาเป็นคนยังไง
คิ้ม : (หัวเราะ) สโลแกนสั้นๆ เลย “ลมหายใจไม่เคยแพ้” (หัวเราะ) เป็นคนไม่เคยยอมแพ้อะไรง่ายๆ เนี้ยคือตัวเอง
ม้าก้านกล้วย : สมมุติว่ากลับไปอยู่ที่บ้านที่ภาคใต้ แล้วอีก 5 ปีผ่านไป กลับมาที่เอแบคอีกครั้ง ถ้าชมรมค่ายเอแบคยังอยู่จะมีหน้าตาเป็นยังไง
คิ้ม : ตอบได้ง่ายมากเลย “ไม่รู้”
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ถ้าถามว่า…อยากจะเห็นมันเป็นยังไง
คิ้ม : ถ้าถามยังงั้นค่อยตอบได้ง่ายหน่อย….. เป็นในสิ่งที่มันควรจะเป็น จะเป็นยังไง เพราะว่า…คือตอบยังงี้ เหมือนกับช่วงเวลาที่ตัวเองหายไป 5 ปี ถามว่าพอกลับมาแล้ว คิดไหมว่ามันต้องเป็นยังไง ก็ไม่เคยคิด แต่ถามว่า ถ้ามันเป็นไปในทางนี้….เราก็ต้องยอมรับว่ามันก็เป็นอย่างนี้ ฉนั้นเหมือนกันอีก 5 ปีข้างหน้า เรากลับมามันจะเป็นยังไงเราก็ยอมรับในสิ่งที่มันเป็น เพราะไม่ได้คาดหวังว่ามันจะต้องเป็นยังไงในสายตาหรือความรู้สึกของเรา
อรรณพ นิพิทเมธาวี : ฟังดูเป็นคนที่ค่อนข้างยอมรับอะไรที่มันเกิดขึ้นไปได้ ไม่ได้มีรู้สึกจะต้องไปค้านมัน ไม่ต้องไปดึงดันกับมัน เป็นคนปล่อยวาง
คิ้ม : จริงๆ แล้วถ้าให้ตอบอย่างงั้น มันก็ผิดความเป็นคนอ่ะ ถามว่าในชีวิตความเป็นจริงของคน ทุกคนคาดหวังทุกเรื่อง ไม่มีใครปล่อยวางได้ 100% เพราะฉนั้นเนี้ย…ถามว่ามีอารมณ์คาดหวังไหม…ก็มี ถ้าอยากให้รู้สึกว่ากลับไปเป็นเหมือนกับช่วงเวลาที่เราเป็น นั้นแหละคือคำตอบ แต่ถามว่ามันเป็นไปได้ไหม….เป็นไปไม่ได้ เพราะเราก็ได้คำตอบแล้วว่า 5 ปี ที่เราหายไปก็ไม่เหมือนเดิม ตอบไปแล้วเหมือนไม่ได้ตอบ
อรรณพ นิพิทเมธาวี : สุดท้าย… ฝากอะไรถึงน้องๆ หรือคนที่จะเข้ามาอ่านบทสัมภาษณ์นี้ อยากจะพูดอะไร….เต็มที่เลย
คิ้ม : ทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด…แล้วก็ทำไปเลย จะผิดจะถูกค่อยว่ากันอีกที แต่ว่า…ถ้าผิดแล้ว ซึ่งทุกคนเนี้ยมีโอกาสที่จะเดินและผิดพลาดและก็ล้ม ขอให้เขากล้าที่จะยืนหยัดลุกขึ้นมาสู้
ม้าก้านกล้วย : สัมภาษณ์
พันทิวา : บันทึก – ถอดเทป
ณ ห้างสรรพสินค้าชื่อดัง แถวพระราม 3
Hello! P’Kim~,
We didn’t meet each other for a long long times!
Miss you all,
Noo-ABAC / Chaingmai Camp
เราว่าคนที่ทำค่าย เป็นคนที่สร้างสรรค์ มีสมอง มีนำใจ
คือว่าเค้าอยู่มหาลัยอื่นอ่ะค่ะแต่ว่าเคยอยู่ ACC มาก่อน พี่คิ้มเค้าเป็นรุ่นพี่ที่สอนอาไรให้เรามากมาย และเค้ารู้สึกว่า ค่ายสร้างคนคนสร้างค่าย อยู่ได้โดยการเกลื้อกูลกั นมันเป็นคติที่เจอมากับตัวเอง
ขอบคุณที่ทำค่ายให้เป็นค่ายนะคับ (แต่ตายตอนจบอะหนีกลับก่อน แฉหนีกลับก่อนได้ไงอะเลยไม่มันเลย)
โรงเรียนเล็ก ๆ ที่มีสภาพโทรม ๆ ก็ยังต้องการคนเลียวแลอยู่นะจะพี่ ๆ ใจดี.. อยากให้ไปสำรวจ “สภาพ(…)” ดูก่อนนะคะเด็ก ๆ เขายังรอคอย…จาก ครูเจี๊ยบ
พี่จะได้มาอ่านกระทู้นี้มั้ยน้า……….. แต่อยากบอกว่าเคารพและนับถือพี่ชายคนนี้มาก ๆ เลย………. อย่างที่พี่เขียนไว้ตั้งแต่ต้น
พี่คิ้มเหมือนหนังสือเล่มหนา ๆ ที่มีความรู้มากมายให้ค้นหา
รักและเคารพพี่ชายคนนี้ทีสุดในโลก
อยากเป็นอย่างพี่ให้ได้ซักวันนึง
เบื้องหลังเก่งอย่างนี่นี่เอง ถึงว่าได้เป็นพี่คิ้มค้ำฟ้าของน้องเด็กค่าย …..แต่หนูว่าน่าจะเปลี่ยนเป็น…เฒ่าทารกจิวเป๊ะทง..มากกว่านะ555
สรุปแล้วค่ายฯ ยังมีอยูหรือเปล้าเจ้าคะ
สังคมดีไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมกันสร้าง ดีใจที่ยังมีคนดีอย่างนี้อีกในประเทศเราครับ ชมรมค่ายอาสา วิทยาลัยทองสุข ครับ ให้กำลังใจคนค่ายด้วยกันครับ
อยู่ค่ายสบายกว่าอยู่บ้าน
อีกไม่นานก็จะรู้ว่า “ชีวิตคืออะไร”
คิดถึงมรึงว่ะคิ้ม